BLOGGER TEMPLATES - TWITTER BACKGROUNDS »

วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2552

คำศัพท์ทางการแพทย์

ทอนซิลอักเสบ tonsillitis
ทุพโภชนาการ malnutrition
ภาวะเสียความจำ amnesia
ภาวะน้ำตาลสูงในเลือด hyperglycaemia หรือ hypergly...
ภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด hypoglycaemia หรือ hypoglyce...
เต้านมอักเสบ mammitis
ทำหมัน sterilise หรือ sterilize
ผู้ป่วยนอก outpatient
ผู้ป่วยใน inpatient
พูดติดอ่าง stammer
ยาธาตุ digestive tonic
ยานอนหลับ hypnotic
ยาดม inhalant
ยาชา local anaesthetic
ภาวะประสาทหลอน hallucinosis
ภาวะเบื่ออาหาร anorexia
ฟันผุ caries
ฟันคุด impacted tooth
ฟันเขยิน extrusion
ฟันเก snaggle tooth ภูมิแพ้ allergy
ภาวะไตวาย,ภาวะไตล้มเหลว renal failure
ภาวะขาดออกซิเจน anoxia
ภาวะขาดน้ำ dehydration
ปลาสเตอร์ plaster
ประสาทอักเสบ neuritis
ประวัติผู้ป่วย case history
ประจำเดือน,ระดู menstruation
ปฐมพยาบาล first aid
ใบสั่งยา prescription
เบาหวาน diabetes
บาดแผล wound
บาดทะยัก tetanic
บวม swell
ผ่อนคลาย relax
บรรเทา,บรรเทาเจ็บ relieve
เนื้องอก,ก้อน tumor หรือ tumour
นิ่ว stone
น้ำอสุจิ semen
น้ำหนักเกิน overweight
น้ำหนวก otorrhea หรือ otorrhoea
น้ำเหลืองของเลือด serum
น้ำเลือด blood
น้ำลาย saliva
น้ำมูกไหล rhinorrhea หรือ rhinorrhoea
น้ำตา tear
น้ำกาม semen
ยาแก้อักเสบ anti-inflammatory
ยาแก้ท้องร่วง antidiarrheic หรือ antidiarrhoeic
ยาแก้คัน antipruritic
ดื้อยา drug-resistant
ดื้อการรักษา refractory
ต่อมไร้ท่อ ductless gland
ต้อหิน glaucoma
ตะคริว cramp
ซีพีอาร์ (การนวดหัวใจและผายปอดเพื่อช่วยชีวิต) CPR ...
ซิฟิลิส syphilitic หรือ syphilous
ชีพจร pulse
ชายรักร่วมเพศ gay
ชรา senile หรือ senility
เฉื่อยชา torpid
เจ็บ sore
จุดบอดในจอตา blind spot
จิตไร้สำนึก unconscious
จับเป็นก้อนหรือลิ่ม coagulate
งัวเงีย subwaking
ฆ่าเชื้อ disinfect
คนเผือก albino
คนปัญญาอ่อน idiot หรือ moron หรือ imbecile
คนใบ้ mute
คนตาบอดสี achromat หรือ monochromat
คนไข้ Patient
การตรวจร่างกาย Physical examination
ไข้เหลือง Yellow fever
ไข้หวัดใหญ่ Influenza
ไข้หวัด Common cold
ไข้ส่า Exanthematous fever
ไข้เลือดออก Haemorrhagic fever หรือ Hemorrhagic f...
ไข้ละอองฟาง Hay fever
ไข้ลมพิษ Urticarial fever
ไข้รูมาติก Fheumatic fever
ไข้รากสาดใหญ่ หรือ ไข้ไทฟัส Typhus fever
ไข้รากสาดน้อย หรือ ไข้ไทฟอยด์ Typhoid fever
ไข้ไม่สร่าง Continued fever
ไข้ป่า Jungle fever
ไข้ทรพิษ,ฝีดาษ Variolar หรือ Variolic
ไข้แดด Sunstroke หรือ Insolation
ไข้จับสั่น,ไข้มาลาเรีย Malaria
ไข้กาฬหลังแอ่น,ไข้กาฬนกนางแอ่น Cerebrospinafeve...
ไข้กาฬ Exanthematous fever
ไข้กลับ Recurrent fever
ไข้ Fever
ไข่ Egg หรือ Ovum
ไขสันหลังอักเสบ Myelitis
ขี้หู Cerumen หรือ Earwax
การตรวจปัสสาวะ Urinalysis
การตรวจวัดสายตา Optometry
การตัดไข่ Spaying
การตกเลือดกำเดา nosebleed
การตกเลือด Bleeding
การตกไข่ Ovulation หรือ Ovification
การได้ยิน Audition
การดูดนม Lactation
การดาม Splinting การดมยา Inhalation
การดมกลิ่น Olfaction
การชิม,การรับรู้รส Gustation,Degustation
การชา Anaesthesia หรือ Anesthesia
การชักกรตุก Spasm
การชัก Convulsion
การฉีด Injection
การฉายรังสี Radiation
การจาม Sneeze
การฆ่าตัวตาย Suicide
การฆ่าเชื้อ Disinfection
การคุมกำเนิด Birth control
การคัดหลั่ง Secretion
การคลอดก่อนกำหนด Premature labour
การคลอด Delivery
การเขม่น Twitch
การขาดอาหาร Innutrition
การขาดอากาศหายใจ Suffocation
การขาด Deficiency
การขาก Expectoration
การขับปัสสาวะ Diuresis
การขันชะเนาะ tourniquet
การขจัดพิษ Detoxication หรือ Detoxification
การเกิดลมพิษ Urtication
การเกิดแผลเปื่อย Ulceration
การเกิดแผลเป็น Scar formation
การเกิดผื่นนูน Papulation
การเกิดตุ่มหนอง Pustulation
การก่อมะเร็ง Carcinogenesis
การก่อมลพิษ Pollution
การกระตุก Jerk
การกระตุกกล้ามเนื้อ Twitch
การกด Suppression
กายภาพบำบัด Physical Therapy
กายบริหารบำบัด Therapeutic exercise
กายบริหาร Exercise
กามโรค (วีดี ) Veneral Disease ( VD )
ก้อนบวม Swell
ก่อมะเร็ง Carcinogenic
กระดูกอักเสบ Osteitis หรือ Ostitis
กลิ่นปากเหม็น saburra
กล้ามเนื้ออักเสบ myitis หรือ myositis.
กลัวแสง photophobia
กระเพาะอักเสบ gastritis
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ cystitis หรือ urocystitis
กระดูกหัก fracture
กระดูกสันหลังอักเสบ spondylitis
กระดูกสันหลังเคลื่อน spondylolisthesis หรือ spondy...
กระดูกแตก fracture
ขี้กลาก ringworm หรือ tinea
ขาดอาหาร malnourished
ขาโก่ง bow leg
ขับเสมหะ expectorant
ขับเลือด,ขับระดู haemagogic
ขับลม carminative
ขับปัสสาวะ uretic
ข้ออักเสบรูมาติก rheumarthrosis
ข้ออักเสบ arthritis
กระดูกเดาะ greenstick fracture

นางสาวดาริกา เขื่อนสอน รหัส52050865
คณะวิทยาศาสตร์
สาขาเคมีทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

ที่มา http://dictionaryfordoctor.blogspot.com

วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2552

คำศัพท์คณิตศาสตร์

กรวย (cone)
รูปทรงใด ๆ ที่มีฐานเป็นรูปวงกลมหรือวงรี และผิวประกอบด้วยส่วนของเส้นครงซึ่งโยงระหว่างจุดบนเส้นรอบวงของวงกลม หรือวงรีกับจุดคงที่จุดหนึ่งซึ่งไม่อยู่ในระนาบเดียวกับฐาน

กราฟของความสัมพันธ์ (graph of a relation)
เซตของจุดในระนาบซึ่งแต่ละจุดแทนคู่อันดับในความสัมพันธ์นั้น

กราฟกึ่งลอการิทึม(semi - logarithm graph)
กราฟที่มีมาตราส่วนบนแกนนอนเป็นมาตราส่วนเลขคณิต และบนแกนตั้งเป็นมาตราส่วนลอการิทึม

กราฟเชิงซ้อน(multiple line graph)
กราฟแสดงการเปรียบเทียบลักษณะข้อมูลที่สนใจศึกษาตั้งแต่ 2 ลักษณะขึ้นไป

กราฟเชิงประกอบ(composite line graph)
กราฟที่ใช้แสดงรายละเอียดหรือส่วนย่อยของข้อมูลที่นำเสนอในช่วงระยะเวลาต่าง ๆ กัน

กราฟดุล (balance graph)
กราฟที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างลักษณะของข้อมูลสองลักษณะที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน เช่น รายรับ รายจ่าย

กราฟเส้นเชิงเดียว(simple line graph)
กราฟที่แสดงการเปรียบเทียบลักษณะของข้อมูลที่สนใจศึกษาเพียงลักษณะเดียว

กรูป (group)
เซต G และ โอเปอเรชันอย่างหนึ่ง พร้อมทั้งคุณสมบัติต่อไปนี้ ให้ * เป็นโอเปอเรชัน
1. คุณสมบัติปิด 2. คุณสมบัติการเปลี่ยนกลุ่มได้ 3. เอกลักษณ์มี ซึ่งทำให้ สำหรับ 4. อินเวอร์ส สำหรับสมาชิก แต่ละตัวจะมี ซึ่ง

การกระจายสัมพัทธ์ (relative variation)
การวัดการกระจายของข้อมูลแต่ละชุด เพื่อนำไปใช้ในการเปรียบเทียบการกระจายกับข้อมูลชุดอื่น ๆ การกระจายสัมพัทธ์มี 4 ชนิดคือ
1. สัมประสิทธิ์ของพิสัย
2. สัมประสิทธิ์ของส่วนเบี่ยงเบนควอร์ไทล์
3. สัมประสิทธิ์ของส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย
4. สัมประสิทธิ์ของการแปรผัน

การแจกแจงความถี่ (frequency distribution)
รูปแบบการกระจายของความถี่ของค่าจากการสังเกตทั้งหมด

การแจงนับอย่างครบถ้วน (complete enumeration)
การเก็บรวบรวมข้อมูลของทุกหน่วยของประชากรที่สนใจศึกษา

การทดลองสุ่ม (random experiment)
การทดลองที่ทราบผลลัพธ์ว่าจะเป็นอะไรได้ บ้าง แต่ไม่สามารถจะพยากรณ์ผลที่จะเกิดขึ้นในแต่ละครั้งว่า จะเป็นอะไรในบรรดาผลลัพธ์ที่อาจเป็นได้เหล่านั้น

การแปรผกผัน (inverse variation)
เมื่อ x และ y แทนปริมาณใด ๆ y แปรผกผันกับ x เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ หมายถึง เมื่อ k เป็นค่าคงตัวและ k # 0

การแปรผันเกี่ยวเนื่อง (joint variation)
เมื่อ x, y และ z แทนปริมาณใด ๆ x แปรผันเกี่ยวเนื่องกับ y และ z แทนด้วยสัญลักษณ์ หมายถึง เมื่อ k เป็นค่าคงตัวและ k # 0

การแปรผันโดยตรง (direct variation)
เมื่อ x และ y แทนปริมาณใด ๆ y แปรผันโดยตรงเป็น x เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ หมายถึง เมื่อ k เป็นค่าคงตัวและ k # 0

การสุ่มตัวอย่าง (random sampling)
การเลือกตัวอย่างสมาชิกของประชากรโดยที่ทุกสมาชิกในกลุ่มมีโอกาสได้รับเลือกเท่า ๆ กัน โดยไม่เจาะจง

กำลังสอง(square)
กำลังสองของจำนวนจริง x ใด ๆ หมายถึง เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ โดยมี 2 เป็นเลขชี้กำลัง

กำลังสองสมบูรณ์ (perfect square)
กำลังสองของจำนวนหรือของพหุนาม

แกนจริง, แกนจำนวนจริง (real axis ,real number axis)
แกนนอนของระนาบเชิงซ้อน

แกนจินตภาพ (imaginary axis)
แกนตั้งของระนาบเชิงซ้อน

ขนาดของเวกเตอร์ (magnitude of a vector)
ความยาวของส่วนของเส้นตรงที่มีทิศทางแทนเวกเตอร์นั้น โดยวัดจากจุดเริ่มต้นถึงจุดปลายของเวกเตอร์

ข้อความที่สมมูลกัน (equivalent statements)
ข้อความสองข้อความที่มีค่าความจริงเหมือนกันทุกกรณี กรณีต่อกรณี

ข้อมูลที่ได้แจกแจงความถี่แล้ว (group data)
ข้อมูลที่แจกแจงความถี่ตามค่าที่เป็นไปได้

ขอบบน (upper boundary)
ค่ากึ่งกลางระหว่างค่าที่มากที่สุดในอันตรภาคชั้นนั้นกับค่าที่น้อยที่สุดของอันตรภาคชั้นถัดไปชั้นหนึ่ง

ขอบล่าง (lower boundary)
ค่ากึ่งกลางระหว่างค่าที่มากที่สุดในอันตรภาคชั้นก่อนหน้านั้นหนึ่งชั้น กับค่าที่น้อยที่สุดของอันตรภาคชั้นนั้น

ข้อมูลสถิติ (statistical data)
ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลขหรือไม่ใช่ตัวเลขเกี่ยวกับเรื่องหนึ่งเรื่องใดที่เราสนใจ และข้อเท็จจริงนั้นจะต้องมีเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการแสดงถึงลักษณะของกลุ่ม หรือส่วนรวมสามารถนำไปใช้ในการเปรียบเทียบและตีความหมายได้

ข้อมูลอนุกรมเวลา (time series data)
ข้อมูลที่แสดงการเปลี่ยนแปลงตามลำดับของเวลา เช่น ปริมาณข้าวที่ประเทศไทยผลิตได้ในแต่ละปี เป็นต้น


ควอร์ไทล์ (quartile)
ค่า 3 ค่าที่แบ่งข้อมูลออกเป็น 4 ส่วนเท่า ๆ กัน เรียกค่าทั้ง 3 ว่า ควอร์ไทล์ที่ 1 (Q1) ควอร์ไทล์ที่ 2 (Q2) (หรือค่ามัธยฐาน) และควอร์ไทล์ที่ 3 (Q3)

ความถี่ (frequency)
จำนวนครั้งที่เกิดขึ้นของเหตุการณ์ที่กำหนดให้ หรือจำนวนค่าจากการสังเกตของข้อมูล ที่ตกอยู่ในอันตรภาคชั้นที่กล่าวถึง

ความถี่สะสม (cumulative frequency)
ความถี่สะสมของค่าที่เป็นไปได้ค่าใด หรือของอันตรภาคชั้นใด หมายถึงผลรวมของความถี่ของค่านั้นหรือของอันตรภาคชั้นนั้น กับความถี่ของค่าหรืออันตรภาคชั้นที่ต่ำกว่าทั้งหมด หรือ สูงกว่าทั้งหมดอย่างใดอย่างหนึ่ง

ความถี่สะสมสัมพัทธ์ (relative cumulative frequency)
ความถี่สะสมสัมพัทธ์ของค่าที่เป็นไปได้ค่าใด หรืออันตรภาคชั้นใด คืออัตราส่วนระหว่างความถี่สะสมของค่านั้น หรืออันครภาคชั้นนั้นกับผลรวมของความถี่ทั้งหมด อาจแสดงในรูปเศษส่วนทศนิยม หรือร้อยละ

ความถี่สัมพัทธ์ (relative frequency)
ความถี่สัมพัทธ์ของค่าใดหรืออันตรภาคชั้นใดคือ อัตราส่วนระหว่างความถี่สะสมของค่านั้น หรืออันตรภาคชั้นนั้นกับความถี่ทั้งหมด อาจจะแสดงอยู่ในรูปเศษส่วนทศนิยม หรือร้อยละ

ความน่าจะเป็น (probability)
อัตราส่วนระหว่างจำนวนสมาชิกของเหตุการณ์ที่สนใจ กับจำนวนสมาชิกของแซมเปิลสเปซที่เป็นเซตจำกัด และสมาชิกเหล่านั้นมีโอกาสเกิดขึ้นได้เท่า ๆ กัน

ความแปรปรวน (variance)
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานยกกำลังสอง

ความแปรปรวนรวม (combined variance , pooled variance)
ความแปรปรวนถ่วงน้ำหนักของความแปรปรวนของข้อมูลหลาย ๆ ชุดโดยมีจำนวนค่าจากการสังเกตในข้อมูลแต่ละชุดเป็นน้ำหนักถ่วง

ความยาวรอบรูป (perimeter)
ความยาวโดยรอบรูป 2 มิติ เช่น ความยาวรอบรูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม เป็นต้น

ความยาวรอบวง (circumference)
ความยาวรอบรูปวงกลม

ความสัมพันธ์ (relation)
เซตของคู่อันดับเช่น {(1, 2), (2, 3), (3, 4) }

คอมพลีเมนต์ของเซต (complement of a set)
ถ้าเซต A เป็นสับเซตของเอกภพสัมพันธ์ U คอมพลีเมนต์ของเซต A เมื่อเทียบกับ U เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ A' คือ เซตที่มีสมาชิกอยู่ใน U แต่ไม่อยู่ใน A

คอมพลีเมนต์ของเหตุการณ์ (complement of an event)
ถ้า E เป็นเหตุการณ์ที่อยู่ในแซมเปิลสเปซ S แล้ว คอมพลีเมนต์ของเหตุการณ์ E เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ E' คือเหตุการณ์ที่ประกอบด้วยสมาชิกที่อยู่ใน S แต่ไม่อยู่ใน E

คอร์ด (chord)
ส่วนของเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างจุดสองจุดใด ๆ บนเส้นรอบวงหรือเส้นโค้ง

ค่ากึ่งกลางพิสัย (mid-range)
ค่ากลางของข้อมูลที่หาได้จากการเฉลี่ยค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดของข้อมูล

ค่าเฉลี่ย (mean)
ทางสถิติ หมายถึง ค่ากลางของข้อมูลแต่ละชุด เช่น ค่าเฉลี่ยเลขคณิต

ค่าเฉลี่ยเลขคณิตถ่วงน้ำหนัก (weight arithmetic mean)
ค่าเฉลี่ยเลขคณิตที่ใช้ในกรณีที่ข้อมูลแต่ละค่ามีความสำคัญไม่เท่ากัน เช่น ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนสอบ 4 วิชาซึ่งแต่ละวิชาใช้เวลาเรียนในแต่ละสัปดาห์ไม่เท่ากัน

ค่าเฉลี่ยเลขคณิตรวม (combined arithmetic mean)
ค่าเฉลี่ยเลขคณิตถ่วงน้ำหนักของค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลหลาย ๆ ชุด โดยที่มีจำนวนค่าจากการสังเกตในข้อมูลแต่ละชุดเป็นน้ำหนักถ่วง

ค่าเฉลี่ยฮาร์โมนิก, เอชเอม (harmonic mean , H.M.)
ค่ากลางของข้อมูลชุดหนึ่ง ที่ได้จากการหารจำนวนข้อมูลทั้งหมดด้วยผลบวกของส่วนกลับของข้อมูลชุดนั้น ใช้อักษรย่อ H.M.

ค่ามัธยฐาน (median)
ค่าที่มีตำแหน่งอยู่กึ่งกลางของข้อมูลทั้งหมด เมื่อเรียงค่าของข้อมูลจากน้อยที่สุดไปหามากที่สุดหรือจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด

คุณสมบัติการสลับที่ (commutative property)
สำหรับ a, b ทุกตัวในเซต A กับโอเปอเรชัน * จะมีคุณสมบัติการสลับที่เมื่อ a * b = b * a เรียกว่า เซต A มีคุณสมบัติการสลับที่สำหรับโอเปอเรชัน *

คุณสมบัติไตรวิภาค (trichotomy property)
คุณสมบัติที่กล่าวถึงการเท่ากันหรือไม่เท่ากัน เช่น ถ้า a และ b เป็นจำนวนจริงแล้ว a = b หรือ a <> b อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น

คุณสมบัติปิด (closure property)
เซต A มีคุณสมบัติปิดภายใต้โอเปอเรชัน * ใด ๆ ถ้า a, b เป็นสมาชิดใน A แล้วสมาชิกที่เกิดขึ้นใหม่จาก a * b จะต้องเป็นสมาชิกใน A ด้วย

คู่อันดับ (orderen pair)
คู่ของสมาชิกที่มาจากเซต A และเซต B เขียนได้ในรูป (a, b) เรียก a ว่าสมาชิกตัวหน้าของคู่อันดับ และเรียก b ว่า สมาชิกตัวหลังของคู่อันดับ

แคลคูลัส(calculus)
วิชาคณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยการหาอนุพันธ์ และอินทิเกรชันของฟังก์ชัน

โคออร์ดิเนต (coordinate)
คู่อันดับซึ่งแสดงตำแหน่งของจุดในระนาบ


จำนวนจริง (real number)
จำนวนที่เป็นสมาชิกอยู่ในเซตที่เกิดจากยูเนียนของเซตของจำนวนตรรกยะ และเซตของจำนวนอตรรกยะ

จำนวนจริงบวก (positive real number)
จำนวนจริงที่มากกว่าศูนย์หรือจำนวนที่แทนได้ด้วยจุดที่อยู่ทางขวามือของจุดแทนศูนย์บนเส้นจำนวน

จำนวนจริงลบ (negative real number)
จำนวนจริงที่น้อยกว่าศูนย์หรือจำนวนที่แทนได้ด้วยจุดที่อยู่ทางซ้ายมือของจุดแทนศูนย์บนเส้นจำนวน

จำนวนจินตภาพ (imaginary number)
จำนวนเชิงซ้อน a + bi เมื่อ b # 0

เซต (Set)
กลุ่มของสิ่งของ หรือจำนวนซึ่งมีข้อจำกัดความแน่นอน สามารถบอกได้ว่าสิ่งของ หรือจำนวนนั้นอยู่ในกลุ่มหรือไม่ เรียกสิ่งที่อยู่ในเซตว่าสมาชิก

เซตจำกัด (finite set)
เซตที่มีจำนวนสมาชิกเป็นจำนวนเต็มบวก หรือศูนย์

เซตที่เท่ากัน (identical sets , equal sets)
เซตสองเซตที่มีสมาชิกเหมือนกันทุกตัว

เซตว่าง (null set , empty set)
เซตที่ไม่มีสมาชิก ใช้สัญลักษณ์ หรือ { }

เซตอนันต์ (infinite set)
เซตที่ไม่ใช่เซตจำกัด

ฐานนิยม (mode)
ค่าของข้อมูลที่มีจำนวนมากที่สุดในข้อมูลชุดนั้น



นางสาวนิชา ลำดับพงค์

รหัส 52050878

สาขา เคมีทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

ที่มา : http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet2/vocabulary/voc1.htm

ศัพท์เฉพาะทางอุตุนิยมวิทยา

ความผันผวนของภูมิอากาศ (climate variability)
ระบบภูมิอากาศที่ผันผวนไปจากแบบแผนของภูมิ อากาศที่เคยเป็นอยู่ในอดีต เช่น ในแต่ละปีจะมีช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน ซึ่งโดยปกติ จะมีฝนเริ่มตกในปลายเดือนเมษายน (ในกรณีของประเทศไทย) แต่ถ้ามีฝนตกอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน ก็ถือว่ามีความผันผวนของฝนเกิดขึ้น ซึ่งความผันผวนของภูมิอากาศนั้นเกิดได้กับฝน (ปริมาณ ช่วงเวลาที่ตก การเว้นช่วงระยะเวลา) อุณหภูมิ ลม ฯลฯ

การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change)
มีหลายหน่วยงานที่พยายามนิยามคำศัพท์นี้ จึงทำให้มีคำนิยามหลายอย่าง เช่น (1) นิยามโดย WMC(ก) โดยทั่วไป หมายถึง ความแตกต่างของรูปแบบภูมิอากาศแบบต่างๆ โดยพิจารณาจากว่ามีองค์ประกอบทางอุตุนิยมวิทยาของพื้นที่ใดที่หนึ่ง ที่แตกต่างจากค่าเฉลี่ยทางสถิติระยะยาว ไม่ว่าจะมีสาเหตุจากอะไร (เช่น จากการเปลี่ยนแปลงของรังสีจากดวงอาทิตย์ การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบวงโคจรของโลกในระยะยาว กระบวนการทางธรรมชาติ หรือจากการกระทำของมนุษย์)(ข) ใช้ในความหมายเฉพาะที่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย (mean value) ขององค์ประกอบทางอุตุนิยมวิทยา (โดยเฉพาะอุณหภูมิและปริมาณของ precipitation ) ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยค่าเฉลี่ยดังกล่าวได้มาจากการตรวจวัดในระยะยาวหลายทศวรรษหรือนานกว่า [WMO (1992), International Meteorological Vocabulary, 2nd Edition, Publication No. 182, WMO's Website] (2) UNFCCCการเปลี่ยนแปลงของภูมิอกาศที่มีสาเหตุมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์ประกบอของบรรยากาศโลก ซึ่งมากไปกว่าการผันผวนของภูมิอากาศ ที่สังเกตุได้ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน [IPCC (1995), Climate Change: A Glossary by the Intergovernmental Panel on Climate Change, IPC's Website](3) IPCCการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ที่เปรียบเทียบกับบันทึกการสังเกตุภูมิอากาศ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายในระบบภูมิอากาศ หรือจากปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบของระบบภูมิอากาศ หรือจากปัจจัยภายนอก ทั้งจากปัจจัยทางธรรมชาติ หรือจากกิจกรรมของมนุษย์ โดยทั่วไป จะไม่สามารถแยกแยะปัจจัยที่เป็นสาเหตุได้ชัดเจน ในการทำนายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของอนาคตของ IPCC นั้น โดยทั่วไปจะพิจารณาเฉพาะอิทธิพลต่อภูมิอกาศ ที่มาจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น หรือจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ [IPCC (1995), Climate Change: A Glossary by the Intergovernmental Panel on Climate Change, IPC's Website]

ระบบภูมิอากาศ (climate system)
ประกอบด้วยระบบ 5 ระบบที่ปฏิสัมพันธ์กัน คือ(ก) บรรยากาศ (atmosphere) หรือบางครั้งก็เรียก อากาศภาค ซึ่งประกอบด้วยก๊าซต่างๆ ในอากาศ ที่อยู่บนผิวโลก(ข) อุทกนิเวศ (hydrosphere) ซึ่งประกอบด้วยสิ่งที่เป็นน้ำและของเหลวที่อยู่ใต้ผิวโลกและบนผิวโลก(ค) น้ำแข็งบนโลก (cryosphere) หิมะและน้ำแข็งที่อยู่ใต้ผิวโลกและบนผิวโลก(ง) ธรณีภาค (lithosphere) ส่วนเป็นผืนดินของผิวโลก เช่น หิน ดิน(จ) ชีวมณฑล (biosphere) สิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่อยู่บนโลก ทั้งพืช สัตว์ รวมทั้งอินทรีย์วัตถุต่างๆ

ภูมิอากาศ (climate)
ลักษณะเงื่อนไขของบรรยากาศ ที่อยู่บริเวณใกล้ผิวโลก ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง ซึ่งได้จากการเฉลี่ยข้อมูลสภาพอากาศระยะยาว (หลายทศวรรษ แต่ในวงการอุตุนิยมวิทยาจะใช้ค่าเฉลี่ย 30 ปี) เมื่อกล่าวถึงภูมิอากาศควรต้องมีการระบุถึงขอบเขตของพื้นที่ เช่น ภูมิอากาศละติจูด (latitudinal climates) ภูมิอากาศของภูมิภาค (regional climate) และภูมิอากาศท้องถิ่น

ภูมิอากาศละติจูด (latitudinal climates)
ภูมิอากาศที่แบ่งตามระยะห่างจากเส้นศูนย์สูตร เช่น ภูมิอากาศขั้วโลก (polar climate) ภูมิอากาศเขตอบอุ่น (temperate climate) ภูมิอากาศเขตกึ่งร้อนชื้น (sub-tropical climate) ภูมิอากาศร้อนชื้น (tropical climate) ประเทศไทยมีภูมิอากาศหลายลักษณะ เช่น ภาคใต้มีภูมิอากาศร้อนชื้น

ภูมิอากาศของภูมิภาค (regional climate)
ภูมิอากาศที่ครอบคลุมเขตภูมิภาคหนึ่งๆ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากที่อื่น ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อภูมิอากาศของภูมิภาค เช่น ระยะห่างจากเส้นศูนย์สูตร มุมองศาของผิวโลกกับดวงอาทิตย์ สัดส่วนองค์ประกอบของดินและน้ำ ระบบลม เป็นต้น ตัวอย่างของภูมิอากาศของภูมิภาค เช่น ภูมิอากาศใกล้ทะเล (maritime climate) ภูมิอากาศทวีป (continental climate) ภูมิอากาศเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterrannean climate) ภูมิอากาศทะเลทราย (desert climate)

สภาพอากาศ (weather)
การผันผวนของเงื่อนไขบรรยากาศในแต่ละวัน ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง ซึ่งโดยปกติ หน่วยงานด้านอุตุนิยมวิทยาจะตรวจขัดปรากฎการณ์ของสภาพอากาศรายวันแค่เพียงบางสิ่ง เช่น อุณหภูมิอากาศ ปริมาณการตกของฝน (หรือหิมะ หรือลูกเห็บ) ความกดอากาศ ความชื้น ลม แสงแดด และเมฆที่คลุมพื้นที่

ค่าเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ (carbon dioxide equivalent - CDE)
เป็นค่าที่ระบุปริมาณก๊าซเรือนกระจกชนิดต่างๆ ที่มีศักยภาพในการทำให้เกิดโลกร้อน (global warming potential - GWP) ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง (โดยทั่วไปใช้ระยะเวลา 100 ปี) เท่ากันกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งจะได้มาจากการคูณปริมาณก๊าซเรือนกระจกนั้นกับค่าศักยภาพในการทำให้โลกร้อน (GWP) ยกตัวอย่างเช่น ค่า GWP ของก๊าซไนตรัสออกไซด์เท่ากับ 298 และของก๊าซมีเทนเท่ากับ 25 ซึ่งหมายความว่า การปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ 1 ตัน จะมีค่าเท่ากับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 298 ตัน ในขณะที่ที่การปล่อยก๊าซมีเทน 1 ตันจะเท่ากับปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 25 ตันยังไม่ค่อยแน่ชัดว่า ค่า GWP ของก๊าซเรือนกระจกแต่ละชนิดมีค่าเท่าไหร่ ในที่นี้จึงขอแสดงค่าที่พบในแหล่งต่างๆ คือก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ มีค่า GWP = 1 ก๊าซมีเทน มีค่า GWP = 21 ถึง 25ก๊าซไนตรัสออกไซด์ มีค่า GWP = 298 ถึง 310 ก๊าซฮาโลคาร์บอน (HFC) มีค่าGWP = 140 ถึง 11,700 ก๊าซซัลเฟอร์ เฮกซาฟลูออไรด์ มีค่า GWP = 23.90

คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (Equivalent carbon dioxide - CO2e)
คือ ค่าความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะมีผลในการแผ่รังสี (radiative forcing) เท่ากันกับก๊าซเรือนกระจกต่างๆ โดยค่าคาร์บอนเทียบเท่านี้จะมีมีหน่วยเป็นส่วนในล้านส่วนโดยปริมาตร (ppmv) ยกตัวอย่างเช่น ค่าคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e) ของบรรยากาศโลกในปี พ.ศ. 2293 จะเท่ากับ 278 ppmv และเพิ่มขึ้นเป็น 412 ppmv ในปี พ.ศ. 2541

การเปลี่ยนเฟสของการกวัดแกว่งของลมทุกรอบสองปี (Quasi-Biennial Oscillation - QBO)
เป็นการพัดสลับกันของลมบริเวณศูนย์สูตรเป็นช่วงๆ ของลมตะวันออกและลมตะวันตกในชั้นสตราโตสเฟียร์ โดยแต่ละช่วงจะกินเวลากว่า 2 ปี คือ ประมาณ 28 - 29 เดือน โดยลมจะเกิดขึ้นในด้านบนของชั้นสตราโตเฟียร์ด้านล่าง และค่อยๆ ขยายลงมาด้านล่างราว 1 กิโลเมตรทุกๆ เดือน จนกระทั่งหมดกำลังลงในเขตโทรโพพอส (tropopause) ซึ่งเป็นบริเวณรอยต่อระหว่างชั้นสตราโตสเฟียร์และชั้นโทรโพสเฟียร์ การขยับตัวลงด้านล่างของลมตะวันออกนั้นค่อนข้างจะไม่เป็นแบบแผนเหมือนลมตะวันตกเท่าไหร่นัก และมีความแรงของลมเป็นเกือบสองเท่าของลมตะวันตก ในทางด้านบนของกระแสลม QBO นี้ กระแสลมตะวันออกจะเป็นกระแสหลัก ในขณะที่ด้านล่างกระแสลมตะวันตกจะเป็นกระแสหลัก ปรากฏการณ์นี้ทำให้เกิดผลกระทบต่อบรรยากาศโลกหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำให้โอโซนในชั้นสตราโตสเฟียร์ลดลง การเปลี่ยนแปลงลมมรสุม และการหมุนเวียนของบรรยากาศในชั้นสตราโตสเฟียร์ในช่วงฤดูหนาวของเขตขั้วโลกเหนือ ซึ่งทำให้เกิดอากาศอบอุ่นขึ้นอย่างกระทันหันในเขตดังกล่าว

เอลนิลโญ-ลาณีญา (El Nino - La Nino)
ในช่วงปรากฏการณ์ลาณีญา กระแสลมในมหาสมุทรแปซิฟิคจะพัดไปทางทิศตะวันตก ทำให้น้ำอุ่นที่อยู่ด้านบนของผิวน้ำ ไหลไปที่ชายฝั่งประเทศออสเตรเลีย และหมู่เกาะต่างๆ ที่อยู่ทางเหนือของออสเตรเลีย เมื่อน้ำอุ่นไหลไปทางตะวันตก กระแสน้ำฮัมโบลด์ที่เย็นกว่าที่อยู่ด้านล่างก็จะไหลขึ้นด้านบน บริเวณชายฝั่งทะเลแปซิฟิคของทวีปอเมริกาใต้ เมื่อกำลังกระแสลมอบอุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิคอ่อนตัวลง ปรากฏการณ์เอลนิโญก็จะเริ่มขึ้น โดยน้ำอุ่นที่เคยพัดไปทางตะวันตกจะไหลย้อนกลับไปทางตะวันออก และดันกระแสน้ำเย็นฮัมโบลด์กลับไปอยู่ใต้ทะเลเหมือนเดิม กระแสน้ำอุ่นที่ไหลกลับไปนี้จะพัดพาไอน้ำจากมหาสมุทรเข้าไปที่ทวีปอเมริกาใต้ ทำให้เกิดฝนตกในทวีปนั้น ส่วนน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิคด้านตะวันตกจะเย็นตัวลง ทำให้น้ำจากมหาสมุทรระเหยน้อยลง ส่งผลทำให้เกิดภาวะแห้งแล้งในทวีปออสเตรเลีย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อเอลนิโญรุนแรงสุดขั้ว จะเกิดภาวะแห้งแล้ง น้ำท่วม และสภาพอากาศผันผวนจะเกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆ เกือบสองในสามของโลก โดยปรากฏการณ์เอลนิโญที่รุนแรงที่สุดเกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2540-41 จนถูกบันทึกว่าเป็นปีที่เกิดภาวะแห้งแล้งในประเทศต่างๆ อย่างกว้างขวาง และเกิดไฟป่าในหลายแห่งทั่วโลก

ทฤษฎีมิแลนโควิทช์ (Milankovitch Theory)
ได้พยายามอธิบายการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลกในระยะยาวว่า เกิดจากปรากฏการณ์ 3 เรื่อง คือ วงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ องศาของแกนโลก และการส่ายไปมาของแกนหมุนของโลก ซึ่งทั้งสามปรากฏการณ์นี้เป็นวัฏจักรธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นเป็นช่วงเวลาต่างกันวัฏจักรของวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ (Earth’s eccentricity) เป็นวัฏจัการที่ใช้เวลานานที่สุด โดยวงโคจรโลกรอบดวงอาทิตย์ ที่เป็นวงรีนั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงทุก 100,000 ปี เมื่อวงโคจรโลกรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีมากที่สุด ในช่วงนั้นโลกก็จะทั้งอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุด และห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุดด้วย ในช่วงดังกล่าว ความเข้มข้นของรังสีดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกในแต่ละช่วงฤดูกาลของปีก็จะแตกต่างกันอย่างมาก ในช่วงปัจจุบันนี้ วงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ไม่ได้เป็นรูปวงรีมากนัก ทำให้ความแตกต่างของรังสีดวงอาทิรย์ที่ส่องมาถึงผิวโลกในช่วงเดือนมกราคมแตกต่างจากรังสีที่ส่องมาในช่วงเดือนกรกฎาคม เพียงแค่ 6% เท่านั้น แต่ในช่วงที่วงโคจรเป็นรูปวงรีมากๆ ความแตกต่างของรังสีในช่วงต้นปีและกลางปีอาจมากถึง 20-30% เลยทีเดียว การเปลี่ยนแปลงของรังสีดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกนี้มีผลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศบนโลกวัฏจักรที่สองจะใช้เวลาราว 41,000 ต่อรอบ ซึ่งวัฏจักรนี้เกี่ยวข้องกับแกนของโลก (axial tilt) ที่มีมุมเอียงที่ต่างกันไป ในช่วงต่างๆ มุมเอียงของแกนโลกจะอยู่ราว 22.1 - 24.5 องศา ซึ่งทำให้มีผลต่อบริเวณบนโลกที่รังสีอาจตกกระทบแตกต่างกันออกไป ในปัจจุบันแกนโลกเอียงอยู่ในช่วงกลางๆ ของมุมเอียง คือประมาณ 23.44 องศาส่วนวัฏจักรที่สาม ซึ่งเป็นวัฏจักรที่สั้นที่สุดคือใช้เวลาราว 26,000 ปีต่อรอบ ซึ่งวัฏจักรนี้จะสัมพันธ์กับการส่ายไปมาของแกนโลก (precession) โดยในช่วงหนึ่งของวัฏจักรแกนโลกจะชี้ไปที่ดาวเหนือและแกนโลกจะค่อยๆ ย้ายไปชี้ที่ดาว Vega การส่ายของแกนโลกนี้มีผลต่อความรุนแรงของฤดูกาล กล่าวคือเมื่อแกนโลกทางเหนือชี้ตรงไปที่ดาว Vega ฤดูหนาวก็จะหนาวเย็นเป็นพิเศษ ในขณะที่ฤดูร้อนก็จะร้อนมากขึ้นเป็นพิเศษด้วย



น.ส. อนค์รัตน์ ศรีลารักษ์
รหัส 52050929
สาขา เคมีทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

ศัพท์เฉพาะทางด้านการบิน




ศัพท์เฉพาะทางด้านการบิน


Fuselage-(ลำตัว) เป็นลำตัวของเครื่องบิน

Aileron-(ปีกแก้เอียง) เป็นแผ่นกระดานที่ติดอยู่กับขอบปีกหลัง ทำหน้าที่เลี้ยวและแก้เอียง

Elevator-เป็นแผ่นกระดานควบคุมที่ติดอยู่ที่ขอบหลังของแพนหางระดับ(Horizontal stabilizer) มีหน้าที่ทำให้เครื่องบินเชิดหัวขึ้นหรือปักหัวลง

Rudder- หมายถึงแผ่นกระดานควบคุม ที่ติดอยู่ที่ขอบปีกหลังของแพนหางดิ่ง ทำหน้าที่หันซ้าย-ขวา หรือแก้อาการไถลซ้าย-ขวา

Pitch-มี 2 ความหมาย คือ หนึ่งหมายถึงการเงยหัวขึ้น-ลงของเครื่องบิน สอง(ใช้กับใบพัด)หมายถึง การเคลื่อนที่ของอากาศที่ออกจากใบพัดหลังจาก ใบพัดหมุนไป 1 รอบ เช่นใบพัดขนาด 11x7 ใบพัดนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 11 นิ้ว และเมื่อใบพัดหมุนไป 1 รอบ อากาศจะเคลื่อนที่ไปจากใบพัด 7 นิ้ว

Tail-(หาง) หมายถึงหางเครื่องบินเช่นกัน

Trailing Edge -(ชายขอบปีกหลัง) หมายถึงขอบด้านหลังของปีก

Airfoil- เป็นรูปแบบของปีกทำหน้าด้านอากาศพลศาสตร์ของปีก Airfoil แต่ละแบบจะให้ผลทางอากาศพลศาสตร์ไม่เหมือนกัน บางแบบให้แรงยกสูง บางแบบให้แรงต้านต่ำ ขึ้นอยู่กับว่าผู้ออกแบบเครื่องบินจะเลือกใช้เพื่อให้ได้ลักษณะเครื่องบินตามที่ต้องการ

Flap-เป็นแผ่นกระดานควบคุมที่ติดอยู่ที่ขอบปีกด้านหลังและชิดอยู่กับลำตัว ทำหน้าที่เพิ่มแรงยกให้กับเครื่องบินในตอนบินขึ้นหรือร่อนลง เครื่องบินบางลำอาจไม่มี Flap

Horizontal Stabilizer-(แพนหางระดับ) เป็นแผ่นกระดานที่ต่ออยู่ที่ท้ายเครื่องบินโดยต่ออยู่ในแนวระดับ ทำหน้าที่ให้เสถียรภาพแก่เครื่องบิน และมักจะมี Elevator ติดอยู่ที่ขอบหลัง

Stabilizer-(หาง) หมายถึงหางเครื่องบิน ดู Horizontal Stabilizer, Vertical Stabilizer

Wing Area -(พื้นที่ปีก) หมายถึงพื้นที่ปีกในแนว 2 มิติ เช่นเครื่องบินมีปีก กว้าง 10 ซม. ยาว 100 ซม. จะมีพื้นที่ปีกเท่ากับ 1000 ซม.

Wing Chord -หมายถึงความยาวจากชายหน้าปีกถึงชายหลังปีก

Wing Root -หมายถึงส่วนของปีกที่ติดกับลำตัว

Wingspan-(กางปีก) คือความยาวปีกจากปลายขอบปีกด้านหนึ่งถึงขอบนอกปีกอีกด้านหนึ่ง (Tip-to-Tip) Wing Tip- (ขอบนอกปีก) คือระยะที่ไกลที่สุดของปีกจากลำตัว Fin-เป็นชื่อเรียกอีกชื่อของแพนหางแนวดิ่ง(Vertical Stabilizer)

Landing Gear-(ฐานล้อ) หมายถึงลูกล้อและก้านที่ต่อกับลูกล้อของเครื่องบิน

Leading Edge- (ชายหน้าปีก) หมายถึงขอบหน้าของปีกเครื่องบิน

Retractable (landing gear)-เป็นฐานล้อแบบพับเก็บได้ มักใส่ใว้ในเครื่องบินแบบสเกล

Engine- (เครื่องยนต์) มักหมายถึงเครื่องยนต์สันดาปภายใน ทำหน้าที่ให้แรงขับ(Thrust) แก่เครื่องบิน ทำให้เครื่องบินเคลื่อนที่ไปข้างหน้า

Fuel Tank-(ถังน้ำมัน) เป็นที่บรรจุน้ำมันเชื้อเพลิง

ARF-(Almost-Ready-To-Fly หรือ "เกือบสำเร็จรูป")-เป็นเครื่องบินที่ผู้ผลิตสร้างมาเกือบเสร็จแล้ว ผู้ซื้อนำมาประกอบอีกเล็กน้อยก็สามารถนำไปบินได้

Four-Stroke (4-stroke) Engine- (เครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะ ) โดยการจุดระเบิดหนึ่งครั้งต้องใช้ 4 จังหวะ ให้กำลังต่ำกว่าแบบ 2 จังหวะในความจุที่เท่ากัน แต่ให้เสียงไพเราะ คล้ายเครื่องบินจริงมาก มักนิยมติดตั้งในเครื่องบินแบบสเกล

Kit-(ชุดคิท) เป็นชิ้นส่วนเครื่องบิน ที่ผู้ผลิตเครื่องบินเล็กผลิตใส่กล่อง โดยผู้ซื้อจะต้องนำไปประกอบเพื่อสร้างเป็นเครื่องบินอีกทีหนึ่ง

RTC-(Ready-to-Cover หรือ"พร้อมหุ้ม") หมายถึงเครื่องบินที่ผู้ผลิตประกอบมาเกือบสำเร็จ โดยที่ผู้ซื้อนำมาหุ้มพลาสติกฟิลม์

RTF- (Ready-to-Fly หรือ"พร้อมบิน") หมายถึงเครื่องบินที่ผู้ผลิตประกอบมาสำเร็จ ผู้ซื้อนำมาประกอบอีกเล็กน้อยก็พร้อมบิน

Scale-มี 2 ความหมาย คือหนึ่งอัตราส่วน ของเครื่องบินจำลองต่อเครื่องบินจริง เช่น 1/5 หมายถึงเครื่องบินจริงจะมีขนาดใหญ่กว่าเครื่องบินจำลองนี้ 5 เท่า สองหมายถึงเครื่องบินที่ย่อส่วนจากเครื่องบินตามสัดส่วนจริงทุกประการ

Dihedral-เป็นมุมยกของปีกจากกลางปีกขึ้นไป ช่วยทำให้เครื่องบินมีเสถียรภาพในการม้วน(roll) แต่จะทำให้เครื่องบินม้วนตัวช้าด้วย เครื่องบินประเภทเครื่องฝึกมักจะมีมุมนี้มากเพื่อให้มีเสถียรภาพสูง แต่เครื่องบินผลาดแผงมักจะมีมุมนี้น้อยหรือไม่มีเลยเพื่อการเลี้ยวที่คล่องแคล่ว

Glow Plug-(ที่จุดหัวเทียน) เป็นแหล่งให้ความร้อนแก่หัวเทียน ซึ่งใช้ในการสตาร์ทเครื่องยนต์เครื่องบินเล็ก Motor-(มอเตอร์) เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล ในเครื่องบินเล็กแบบไฟฟ้า มอเตอร์จะเป็นตัวให้แรงขับแก่เครื่องบิน

NiCd-(ถ่าน NiCd) เป็นถ่านไฟฉายแบบ NickelCadmium ซึ่งเป็นถ่านที่ชาร์ทไฟกลับเข้าไปใหม่ได้เมื่อถ่านหมด มีความสามารถในการจ่ายกระแสสูงๆ มักนำมาใช้เป็นถ่านจ่ายมอเตอร์ในเครื่องบินไฟฟ้า

NiMH-เป็นถ่านชาร์ทแบบ Nickel Metal-Hydride มีความจุ(capacity) สูงแต่จ่ายกระแสได้ต่ำกว่าถ่าน NiCd

Li-po เป็นเบทเตอรีชาร์ทมีความจุสูง จ่ายกระแสได้สูงและมีน้ำหนักเบา

Prop- คำย่อ ของ Propeller หรือใบพัด

Propeller-(ใบพัด) เป็นอุปกรณ์เปลี่ยนพลังงานจากเครื่องยนต์ ไปสร้างแรงขับให้เครื่องบิน ทำงานโดยการผลักอากาศไปด้านหลัง ทำให้เกิดแรงขับเครื่องบินไปข้างหน้า

Pushrods-เป็นก้านที่ใช้ต่อระหว่างเซอร์โวและตัวควบคุมเช่น Aileron, Elevator, Rudder เป็นต้น

Power Plant- (ต้นกำลัง) หมายถึงเครื่องยนต์หรือมอเตอร์ ที่สร้างแรงขับให้แก่เครื่องบิน

Radio-(วิทยุ) หมายถึงวิทยุบังคับ

Radio Transmitter -(เครื่องส่ง) หมายถึงวิทยุตัวส่งที่ผู้ควบคุมใช้ควบคุมเครื่องบิน

Receiver Battery -(ถ่าน) สำหรับตัวรับ

Receiver-(เครื่องรับ) หมายถึงวิทยุตัวรับที่แปลงสัญญานจากเครื่องส่งไปยังเซอร์โว

Servo-(เซอร์โว) เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญานควบคุมจากตัวรับเพื่อไปควบคุมอุปกรณ์บังคับการบิน เช่น บังคับ Aileron เพื่อเลี้ยว เป็นต้น

RPM- หมายถึงรอบต่อนาที เช่นเครื่องยนต์หมุน 12000 รอบต่อนาที

Span-หมายถึง Wing Span ความกว้างของปีก

Stab-คำย่อของ Stabilizer หมายถึงหางเครื่องบิน

Roll-(การม้วน) เป็นการเคลื่อนที่รูปแบบหนึ่งของเครื่องบิน โดยปีกจะหมุนรอบลำตัว เกิดจากการควบคุม Aileron และมักจะใช้ในการเลี้ยวเครื่องบิน

Taildragger (gear) -(ล้อหาง) เป็นล้อหางของเครื่องบินแบบ 2 ล้อ

Tricycle (Landing) Gear- หมายถึงเครื่องบินแบบที่มี 3 ล้อใหญ่ โดยล้อหน้าจะอยู่ที่หัวเครื่องบิน และ 2 ล้อหลังจะอยู่ใต้ปีกเครื่องบิน

Trim-(ปรับทริม) หมายถึงการปรับตั้งส่วนควบคุมให้เข้าที่ เช่นเครื่องบินใหม่บินแล้วกินขวา ก็ต้องปรับทริม
Aileron ให้ไปทางซ้ายเพื่อให้เครื่องบิน บินตรงทาง

Two-Stroke Engine -(เครื่องยนต์ 2 จังหวะ) เป็นเครื่องยนต์ที่การจุดระเบิดหนึ่งครั้งใช้ 2 จังหวะ ให้กำลังมากกว่าเครื่องแบบ 4 จังหวะในความจุที่เท่ากัน เป็นเครื่องยนต์ที่นิยมใช้กันทั่วไปในเครื่องบินเล็ก

Vertical Stabilizer -หมายถึงแพนหางแนวดิ่ง มักจะมี Rudder ติดอยู่ที่ขอบหลัง ทำหน้าที่ให้เครื่องบินมีเสถียรภาพในแนวระดับ คือให้เครื่องบินบินตรง ไปไถลไปทางซ้ายหรือทางขวา

Yaw-(การหัน) คือการเคลื่อนที่รูปแบบหนึ่งของเครื่องบิน โดยการหันซ้าย-ขวา ซึ่งสามารถควบคุมได้จาก Rudder (การ YAW จะทำให้เครื่องบินหันข้างไปขางได้ข้างหนึ่ง(Skid หรือ Slip) Rudder จะถูกใช้เพื่อแก้อาการดังกล่าว

Angle of Attack : คือมุมแหลมที่วัดระหว่าง แนวเส้น chord ของ airfoil และแนวของ relative wind.

Cockpit เป็นห้องนักบิน ซึ่งแบ่ง แยกออกจาก ห้องโดยสาร

Aerodynamics Aero ก็คือคำที่มาจากภาษา Greek มีความหมายว่า อากาศ และ Dynamics มาจากคำในภาษา Greek มีความหมายว่า กำลัง ( Power) หรือ เป็น สาขา หนึ่งของ physics ซึ่ง พิจารณา เกี่ยวกับ วัตถุ เคลื่อนที่ และ แรง ที่ ทำให้ เกิดการ เปลี่ยนแปลง การ เคลื่อนที่ ของ วัตถุนั้น. เมื่อ นำเอา คำว่า Aero รวมกับ คำว่า Dynamics เราก็จะได้ Aerodynamics ซึ่งมีความหมายว่า " วิทยาศาสตร์ ที่ว่าด้วย ผลที่ เกิดขึ้น เนื่องจาก อากาศ หรือ กาซ ที่ เคลื่อนที่ ".







จัดทำโดย : นางสาวกวินทิพย์ แก้วประเสริฐ

52050837 คณะวิทยาศาสตร์

สาขาเคมีทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552

คำศัพท์ทางวิชา ฟิสิกส์

คำศัพท์ทางวิชา ฟิสิกส์


1.ความเร่ง คือ การเพิ่มหรือลดความเร็วทุกๆวินาที วัดเป็นเมตรต่อวินาทียกกำลังสอง

2.กระแสสลับ(a.c.) คือ กระแสไฟฟ้าที่ไหลกลับทิศทางตลอดเวลา

3.แอมแปร์ (amp.) คือ หน่วยวัดกระแสไฟฟ้า

4.ความกว้างของคลื่น คือ ความสูงของคลื่นหรือความกว้างของการสั่นสะเทือน

5.หลักของอาร์คิมีดิส คือ วัตถุจะลอยในของเหลวได้ ต้องแทนที่น้ำหนักของของเหลวเท่ากับน้ำหนักของวัตถุ

6.อะตอม คือ อนุภาคที่เล็กที่สุดของธาตุ ซึ่งสามารถมีส่วนร่วมในปฏิกิริยาทางเคมี

7.จุดศูนย์ถ่วง คือ จุดที่ถือว่าน้ำหนักของวัตถุทั้งระบบไปรวมกันที่จุดนั้น

8.ตัวนำ คือ สารหรือวัตถุที่มีความต้านทานน้อยต่อกระแสไฟฟ้าหรือความร้อน

9.กฎทรงพลังงาน คือ พลังงานของระบบย่อมคงที่ ไม่ว่าระบบนั้นๆ จะเปลี่ยนสภาพไปอย่างไรก็ตาม

10.การพาความร้อน คือ การถ่ายทอดความร้อนในของเหลว หรือแก๊สโดยการเคลื่อนที่ของของเหลงหรือแก๊สเอง

11.คูลอมบ์(Coulomb) คือ หน่วยของประจุไฟฟ้า 1คูลอมบ์ คือ ประจุที่เคลื่อนที่ใน1วินาที โดยให้กระแสไฟฟ้า1แอมแปร์

12.กระแสไฟฟ้า คือ อัตราการไหลของประจุไฟฟ้า หน่วยวัดเป็นแอมแปร์
13.อิเล็กตรอน คือ ประจุไฟฟ้าลบที่มีขนาดเล็กที่สุดในอะตอมอิเล็กตรอนอิสระ จะเคลื่อนที่ในสสารที่เป็นสื่อไฟฟ้า
14.พลังงาน คือ สิ่งซึ่งสามารถทำงานได้ มีหน่วยวัดเป็นจูล
15.แรง คือ สิ่งที่สามารถทำให้วัตถุเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ มีหน่วยวัดเป็นนิวตัน
16. การสลายตัว คือ การที่โมเลกุลของสารแตกตัวออกเป็นโมเลกุลเล็ก ๆ หรืออะตอมเช่นการสลายตัวโมเลกุลของน้ำจะได้โมเลกุลของแก๊สไฮโดรเจนกับออกซิเจน
17. เดซิเมตร คือ หน่วยวัดระยะเท่ากับ 0.1 เมตร
18.แรงองค์ประกอบ (component forces) แรงแรงหนึ่งสามารถแยกออกเป็นแรงย่อย 2 แรงหรือมากกว่า แรงย่อยที่แยกออกนี้คือแรงองค์ประกอบ
19. absorption of colour การดูดกลืนสี คือการที่แผ่นกรองแสงดูดกลืนแสงบางความยาวคลื่นไว้ และปล่อยแสงความยาวคลื่นที่เหลือให้ผ่านแผ่นกรองแสงออกไป ตัวอย่างเช่น แผ่นกรองแสงสีแดงจะดูดกลืนความยาวคลื่นของแสงสีอื่นไว้ แล้วปล่อยให้ความยาวคลื่นแสงสีแดงเท่านั้นผ่านออกไป ความเข้มของแสงที่ผ่านแผ่นกรองออกไปจะมีความเข้มน้อยกว่าความเข้มของแสงที่ผ่านเข้ามายังแผ่นนั้น
20. diathermy กรรมวิธีทางการแพทย์ในการรักษาเนื้อเยื่อของร่างกายด้วยการให้ความร้อนที่ได้จากการส่งผ่านกระแสไฟฟ้าความถี่สูง วิธีนี้ช่วยให้คนไข้คลายความเจ็บปวดจากกล้ามเนื้อ หรือจากกระดูกและข้อต่อ
21. electron microscope กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจการอย่างเดียวกับกล้องจุลทรรศน์แบบธรรมดา แต่มีกำลังขยายสูงกว่ามาก แทนที่ใช้ลำแสงสว่างส่องวัตถุที่จะดูให้เห็นสว่างขึ้น กลับใช้ลำอิเล็กตรอนจากเครื่องยิงอิเล็กตรอนแทน วัตถุที่ดูต้องเป็นแผ่นบางมากๆ เพื่อให้ลำอิเล็กตรอนเคลื่อนที่ผ่านได้
22. Transformer หม้อแปลงไฟฟ้า ประกอบด้วยขดลวด 2 ขดพันรอบแกนเดียวกัน แกนนี้ทำด้วยสารแม่เหล็กชั่วคราว ใช้สำหรับเปลี่ยนแรงเคลื่อนไฟฟ้าสลับในชดลวดหนึ่งเป็นแรงไฟฟ้าค่าต่างๆในขดลวดอื่น เช่นแหล่งจ่ายไฟฟ้า

23.Primary coil ขดลวดปฐมภูมิ ขดลวดในหม้อแปลงไฟฟ้า ซึ่งป้อนแรงเคลื่อนไฟฟ้าสลับเข้าไปให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าในขดลวดทุติยภูมิ

24.Secondary coil ขดลวดทุติยภูมิ ขดลวดในหม้อแปลงไฟฟ้าซึ่งมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าสลับเหนี่ยวนำเกิดขึ้น เมื่อป้อนแรงเคลื่อนไฟฟ้าเข้าไปในขดลวดปฐมภูมิ หม้อแปลงบางตัวมีขดลวดทุติยภูมิมากกว่า 2 ชุด

25.Turn ratio อัตราส่วนขดลวด เป็นอัตราส่วนระหว่างขดลวดปฐมภูมิกับขดลวดทุติยภูมิ มีค่าเท่ากับอัตราส่วนระหว่างแรงเคลื่อนไฟฟ้าในขดลวดปฐมภูมิกับทุติยภูมิ

26.Friction force or friction แรงเสียดทานเป็นแรงที่กระทำต้านการเคลื่อนที่ของผิววัตถุ 2 ชนิด ที่แตะกันเกิดขึ้นจากแรงระหว่างโมเลกุลของผิวทั้งสอง แรงเสียดทานมี 2 ชนิดคือ แรงเสียดทานสถิต และแรงเสียดทานจลน์

27.ตำแหน่งเชิงมุม คือ มุมที่วัตถุแข็งเกร็งหมุนรอบแกนคงที่หนึ่ง หน่วยเป็นเรเดียน

28.เรโซแนนท์เป็นปรากฎการณ์ที่แรงจากภายนอกสามารถส่งถ่ายพลังงานให้กับระบบได้สูงสุด ซึ่งจะนำไปสู่แอมพลิจูดที่มากขึ้นในแต่ละรอบของการสั่น เรโซแนนท์สามารถเกิดกับการเคลื่อนที่ได้ทุกชนิด ที่เป็นการสั่น และไม่จำเป็นต้องเป็นมวลที่ติดกับสปริงอย่างเดียว ยกตัวอย่างเช่นการขึ้นและลงของน้ำ ในแม่น้ำ ทะเล และมหาสมุทร เป็นต้น ถือเป็นการสั่นสะเทือนได้เช่นเดียวกัน ที่อ่าวฟันดี้ (Fundy) ประเทศแคนาดา ระดับน้ำต่ำสุดและสูงสุดจะห่างกันประมาณ 15 m ซึ่งเป็นระดับที่สูงมาก ปรากฏการณ์นี้คือ การเรโซแนนท์

29.kinetic energy พลังงานจลน์ พลังงานที่มีในวัตถุได้เมื่อวัตถุเคลื่อนที่ พลังงานจลน์ของวัตถุมวล m เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว v จะมีค่า 1/2 mv2 พลังงานมีค่าเป็นจูล เมื่อมวลมีหน่วยเป็นกิโลกรัม และความเร็วเป็นเมตรต่อวินาที

30.hydrogen peroxide , peroxide of hydrogen H2 O2 ของเหลวข้นคล้ายน้ำเชื่อม จุดเดือด 150.2 องศาเซลเซียส ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ขายกันทั่วไปเป็นสารละลายของสารประกอบบริสุทธิ์ในน้ำ สลายให้ออกซิเจนได้ง่าย ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อและยาฟอกสี ความแรงของสารละลายมักบอกเป็นความแรงทางปริมาตร เช่น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 10 ปริมาตร จะสลายให้ก๊าซออกซิเจนออกมา 10 เท่า ของปริมาตรเดิมของมัน

31.กฎของเกาส์ เราสามารถคำนวณหาสนามไฟฟ้าของจุดประจุได้โดยตรงจากกฎของคูลอมบ์ แต่ถ้าเป็นประจุที่กระจายอย่างต่อเนื่อง ต้องผ่านการอินทิเกรต และขั้นตอนการอินทิเกรต บางกรณีซับซ้อนเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตามหลังจากกฎของคูลอมบ์ได้ตั้งขึ้นไม่นาน นายเกาส์ ซึ่งเป็นชาวเยอรมัน และเป็นนักฟิสิกส์ และนักดาราศาสตร์ด้วย ได้ค้นพบวิธีทางคณิตศาสตร์ที่ลดทอนการอินทิเกรตให้ง่ายขึ้น โดยการหาความสัมพันธ์ระหว่าง ฟลักซ์ของสนามไฟฟ้ากับประจุซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของฟลักซ์
32.ความต้านทานตัวต้านทานบางชนิดทำด้วย ลวดนิโครมยาว ใช้ลดกระแสไฟฟ้าภายในวงจร ตัวต้านทานเปลี่ยนค่าได้หรือรีโอสแตท ใช้เปลี่ยนค่ากระแสไฟฟ้าภายในวงจร เมื่อเลื่อนปุ่มสัมผัสจะเป็นการเปลี่ยนความยาวของลวด
33.ของเหลวแม่เหล็กน้ำหมึกแม่เหล็กทำด้วยน้ำมัน เพื่อไม่ให้ลบออก ของเหลวแม่เหล็กนี้ใช้ตรวจจับรอยร้าวเล็กมากๆในผิวโลหะของท่อ รอยร้าวเหล่านี้ถ้าปล่อยไว้จะเป็นอันตรายมาก ให้ใช้ขดลวดพันรอบท่อแล้วทำให้เป็นแม่เหล็ก และทาด้วยของเหลวแม่เหล็ก ถ้ามีรอยร้าวเล็กๆ เส้นแรงแม่เหล็กจะรั่วออกจากท่อที่มีรอยร้าว ดังนั้นของเหลวแม่เหล็กจะแสดงให้เห็นรอยร้าวของท่อ น้ำมันแม่เหล็กใช้ในการหล่อลื่นแกนของมอเตอร์ และขดลวดของลำโพงโดยใช้แม่เหล็กช่วยให้น้ำมันแม่เหล็กไปอยู่ในที่ที่ถูกต้อง
34.Incandescence คือการเปล่งแสงสว่าง ออกมาเนื่องจากอุณหภูมิสูง หรือให้ความร้อนสูง จนวัตถุนั้นเปล่งแสงสว่างจ้า คุณคงเคยเห็นเหล็กที่มันร้อนแดง เมื่อมันอยู่ในเตาเผา และถ้าเหล็กร้อนจนถึงอุณหภูมิ 1000องศาฟาเรนไฮต์ ผิวเหล็กจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม ให้ลองสังเกตเตาไฟฟ้าที่ทำจากขดลวด หรือเครื่องปิ้งขนมปังก็ได้ ในอุปกรณ์ไฟฟ้าพวกนี้ กระแสไฟฟ้าจะให้ความร้อนกับขดลวด หรือเส้นลวดจนร้อนและเปล่งแสงออกมา และถ้าคุณเพิ่มอุณหภูมิจนถึง 4500องศาฟาเรนไฮต์ จะได้แสงสีเหลืองเกือบขาว ซึ่งก็คือแสงเดียวกันกับที่เปล่งออกจากหลอดไฟมีไส้นั่นเอง
35.inductance L สมบัติของวงจรไฟฟ้าอย่างหนึ่งซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงกระแสที่ไหลผ่านวงจร ทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าขึ้น หรือเมื่อเปลี่ยนแปลงกระแสในวงจรข้างเคียงซึ่งต่อเนื่องกันอยู่ด้วยแรงแม่เหล็ก แล้วเกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าขึ้น หน่วยอนุพันธ์ระบบ SI ของอินดัคแตนซ์ คือ เฮนรี่
36.Stroboscope เครื่องมือชนิดหนึ่งซึ่งช่วยให้สามารถมองเห็นวัตถุที่เคลื่อนที่เป็นรอบเป็นคาบอย่างรวดเร็วได้เหมือนกันวัตถุนั้นอยู่นิ่ง ตัวอย่างเช่น แผ่นเสียงหมุน 33 1/2 รอบต่อนาที ถ้าใช้แสงสว่างจากต้นกำเนิดอย่างหนึ่งซึ่งสามารถส่องแสงแวบได้ในความถี่เดียวกัน แล้วตาจะมองเห็นแผ่นเสียงนั้นได้ในทุกๆขณะที่แสงส่องแวบว่าอยู่ตรงตำแหน่งเดียวกับที่เห็นในขณะที่แสงแวบครั้งก่อนนั้น จึงปรากฎว่าเสมือนกับแผ่นเสียงนั้นอยู่กับที่ ถ้าความถี่ของ
การเคลื่อนที่ไม่ตรงกับความถี่ของแสงแวบนัก จะเห็นเป็นว่าแผ่นเสียงดังกล่าวหมุนช้าๆ
37.ปริมาณพื้นฐาน (Fundamental quantities) ในทางฟิสิกส์ ได้แก่ ความยาว มวลสาร เวลา กระแสไฟฟ้า อุณหภูมิทางเทอร์โมไดนามิก ความเข้ม การส่องสว่างและปริมาณมวลสาร ในการจัดปริมาณพื้นฐานหรือปริมาณอื่นใดก็ตามจะวัดเทียบกับมาตรฐานอันหนึ่งซึ่งตกลงเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า มีปริมาณ 1 หน่วย ในระบบหน่วยมาตรฐานระหว่างชาติหรือระบบ SI
38.มวลนิ่ง คือ มวลของวัตถุขณะหยุดนิ่งเมื่อเทียบกับผู้สังเกต มักจะใช้คำนี้เมื่อพิจารณาวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้แสง เนื่องจากวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงจะมีมวลเพิ่มขึ้น
39. มอเดอเรเตอร์ เป็นสารที่ทำให้นิวตรอนที่มีพลังงานสูงวิ่งช้าลง โดยที่ไม่ดูดกลืนนิวตรอนเสียเองเพื่อจะได้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิสชันได้ดีขึ้น มอเดอเรเตอร์ จะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเชื้อเพลิง เช่น เชื้อเพลิงเป็น 235U มอเดอเรเตอร์ที่ใช้คือ น้ำ (H2O) ถ้าใช้ 238U มอเดอเรเตอร์ที่ใช้คือ Heavy water (D2O) ซึ่งมีนิวเคลียสของดิวเทอรอน (I2H) นอกจากนี้ในบางปฏิกิริยานิวเคลียร์อาจใช้แท่งคาร์บอน แกรไฟต์ หรือพาราฟิน

40.เดซิเบล เป็น หน่วยที่ใช้เปรียบเทียบระดับของกำลัง กล่าวคือ กำลังของสองระดัง เช่น P0 และ P เราเรียกว่าต่างกัน n เดซิเบล หน่วยเดซิเบลนี้มักใช้ในการบอกความเข้มของเสียง โดยที่ P เป็นความเข้มของเสียงที่ระดับหนึ่งที่ต้องการบอก และ P0 เป็นความเข้มของเสียงที่ระดับมาตรฐาน ซึ่งปกติถือเอาความเข้มเสียงซึ่งมีค่าต่ำสุดที่หูมนุษย์สามารถจะได้ยินและมีความถี่เดียวกับ P
41.ไดโอด คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตจากสารกึ่งตัวนำ มี 2 ขั้ว คือ ขั้ววกและขั้วลบ ไดโอด จะยอมให้กระแสไหลผ่านทางเดียว เวลาใช้งานจึงต้องต่อให้ถูกขั้ว ถ้าต่อสลับขั้วจะไม่มีกระแสไหล
42.ไดอะแฟรม คือ แผ่นวัตถุบาง ๆ ของกล้องถ่ายรูป ทำหน้าที่ปรับช่องแสงเพื่อให้ลำแสงผ่านเข้าไปยังฟิล์มได้มาน้อยตามต้องการ
43. คลื่นกระแทก คือ คลื่นที่มีหน้าคลื่นเป็นรูปกรวยในกรณีของเสียง เกิดจากแหล่งกำเนิดเสียงเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงกว่าความเร็วของคลื่นเสียงในตัวกลางนั้น ๆ ทำให้หน้าคลื่นของคลื่นที่ส่งออกมาซ้อนเรียงกันไปตามแนวการเคลื่อนที่ของแหล่งกำเนิดเสริมกันเป็นรูปกรวย โดยแหล่งกำเนิดจะอยู่ตรงปลายแหลม

44. ชัตเตอร์ เป็น แผ่นทึบแสงที่ทำหน้าที่ปิด – เปิด ให้แสงเข้ามาในกล้อง ซึ่งเราสามารถตั้งช่วงเวลาการให้แสงผ่านเข้าไปในกล้องได้โดยการปรับความเร็วชัตเตอร์ ถ้าวัตถุมีความสว่างมากก็เพิ่มความเร็วชัตเตอร์ขึ้น แต่ถ้าวัตถุมีความสว่างน้อยก็ต้องลดความเร็วชัตเตอร์ลง


45.ชันต์ คือ ตัวต้านทานที่มีค่าน้อย ๆ นำมาต่อขนานกับแกลแวนอมิเตอร์ เพื่อดัดแปลงแกลแวนอมิเตอร์ให้วัดกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่มีค่าเกินค่ากระแสสูงสุดของแกลแวนอมิเตอร์ (Ig) ได้

46.พลังงานกลเป็นพลังงานที่เกี่ยวข้อง กับการเคลื่อนที่โดยตรง เช่น ก้อนหินที่อยู่บนยอดเนินจะมีพลังงานศักย์กล (Potential mechanical energy) อยู่จำนวนหนึ่ง ขณะที่ก้อนหินกลิ้งลงมาตามทางลาดของเนิน พลังงานศักย์จะลดลง และเกิดพลังงานจลน์กลของการเคลื่อนที่ (Kinetic mechanical energy) ขึ้นแทน สิ่งมีชีวิตอาศัยพลังงานรูปนี้ในการทำงานที่ต้องมีการ เคลื่อนไหวเป็นประจำ เช่น การเดิน การขยับแขนขา การหยิบวัตถุ เป็นต้น

47.โพรเจกไทล์ เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุภายใต้อิทธิพลของสนามความโน้มถ่วงของโลกตลอดเวลา แนวการเคลื่อนที่มีลักษณะเป็นแนวโค้งพาราโบลา ซึ่งมีการกระจัดเกิดขึ้น 2 แนวพร้อมกัน คือในแนวดิ่งซึ่งเหมือนการเคลื่อนที่วัตถุตกแบบเสรีและในแนวราบซึ่งเหมือนการเคลื่อนที่ของวัตถุด้วยความเร็วคงตัว

48. เลขควอนตัม quantum number เป็นตัวเลขจำนวนเต็มที่มีค่าตั้งแต่ 1 ขึ้นไป จนถึงค่าอนันต์
N = 1,2,3,4,…
ตัวเลขควอนตัม ใช้บอกถึงสภาวะของอนุภาคขนาดเล็ก ๆ ในระดับอะตอมซึ่งตัวเลขควอนตัมแต่ละตัวจะทำให้รู้ถึงสมบัติต่าง ๆ ของอนุภาคในสภาวะนั้น ๆ ได้ เช่น ระดับพลังงาน โมเมนตัมเชิงมุม รัศมีวงโคจร อัตราเร็ว


49.ตัวต้านทานแปลี่ยนค่าได้ (Variable resistor) เป็นอุปกรณ์ที่ความต้่านทานเปลี่ยนได้โดย การเลื่อนจุดสัมผัส มีลักษณะเป็นขดลวดรอบแกนหรือแผ่นโค้ง ซึ่งมีจุดสัมผัสแตะอยู่ตัวต้านทานเปลี่ยนค่าได้สามารถใช้เป็นตัวแบ่งศักย์ไฟฟ้า เรียกว่า โพเทนชิออมิเตอร์


50. วีตสโตนบริดจ์ (Wheatstone bridge) เป็นวงจรที่ใช้วัด ความต้านทาน เมื่อเข็ม แกนแวนอมิเตอร์ชี้เลข 0 จะสามารถคำนวนความต้านทานที่ไม่รู้ค่าได้ จากตัวต้านทานที่รู้ค่าอีก 3 ตัวมิเตอร์บริดจ์ เป็นวงจรวีตสโตนบริดจ์ ชนิดหนึ่งซึ่งแทนตัวต้านทานที่รู้ค่า 2 ตัวด้วยเส้นลวดความต้านทานสูงยาว 1 เมตร จุดแตะที่เส้นลวดนี้ต่อกับแกลแวนอมิเตอร์





จัดทำโดย นางสาววัฒนาฤดี อึ้งมงคลชัย

คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเคมีทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

รหัสนักศึกษา 52050907

ศัพท์เฉพาะทางนิติวิทยาศาสตร์



analyzing materials การวิเคราะห์วัสดุ

antigens แอนติเจน

antibody แอนติบอดี

applications of scientific techniques การประยุกต์เทคนิคทางวิทยาศาสตร์

assay การตรวจ

atomicphysics ฟิสิกส์อะตอม

authentication systems ระบบการยืนยันบุคคลตัวจริง

authenticity verification ความเป็นเจ้าของ

automated fingerprint ลายพิมพ์นิ้วมืออัตโนมัติ

autopsy การผ่าศพ

biological evidence พยานหลักฐานทางชีววิทยา

biological evidence Investigation การตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางชีววิทยา

biometric ไบโอเมทริกซ์

biometric authentication systems ระบบการยืนยันบุคคลตัวจริงทางไบโอเมทริกซ์

biometric evaluation method วิธีการประเมินไบโอเมทริกซ์

biometric systems ระบบไบโอเมทริกซ์

biometric systems error ความผิดพลาดของระบบไบโอเมทริกซ์

biometric recognition techniques เทคนิคการรู้จำไบโอเมทริกซ์

blood testing การตรวจเลือด

civil law กฎหมายแพ่ง

civil procedure law กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

clinical ทางคลินิก

coating materials สารเคลือบผิว

collection การเก็บรวบรวม

collisions การชน

commission of a crime การประกอบอาชญากรรม

comparative automated fingerprint การตรวจเปรียบเทียบลายพิมพ์นิ้วมืออัตโนมัติ

compare evidence เปรียบเทียบพยานหลักฐาน

computer fraud การฉ้อโกงทางคอมพิวเตอร์

deductive reasoning การหาเหตุผลเชิงนิรนัย

density patterns รูปแบบความหนาแน่น

detecting สืบหา

determination การตรวจหา

diagnosis การวินิจฉัย

diagnostic methods for DNA วิธีการวินิจฉัยดีเอ็นเอ

digital image processing การประมวลผลภาพดิจิตัล

digital photography system ระบบการถ่ายภาพดิจิตัล

dimensions มิติ

document processing การประมวลผลเอกสาร

evidence หลักฐาน

evidence identification พยานหลักฐาน

examination of blood stain การตรวจคราบเลือด

examination of handwriting การตรวจพิสูจน์ลายมือ

examination of skull sinus การตรวจลักษณะโพรงอากาศที่กะโหลกศีรษะ

excretory system ระบบขับถ่าย

expert witness พยานผู้ชำนาญการ

expert witness in court พยานผู้ชำนาญการในชั้นศาล

exploratory เชิงการตรวจสอบ

exploratory data analysis การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงการตรวจสอบ

explosive วัตถุระเบิด

explosive residues เศษวัตถุระเบิด

genetic property of serumสมบัติทางพันธุกรรมของน้ำเหลือง

gun shot เขม่าดินปืน

saliva stain คราบน้ำลาย


ผู้เขียน: น.ส.ณิชา มุริจันทร์

รหัสนักศึกษา: 52050864

สาขา: เคมี-สิ่งแวดล้อม

ที่มา:http://rka-state.vox.com/library/post/%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C.html

ศัพท์เฉพาะทางข่าวเทคโนโลยีสารสนเทศ





การทำข่าวเทคโนโลยีสารสนเทศ คำศัพท์เฉพาะทางด้านเทคโนโลยีสารเทศก็นับว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ และจำเป็นอย่างมากที่ผู้สื่อข่าวสายไอที ควรรู้และทำความเข้าใจ พร้อมทั้งขวนขวายหาความรู้เกี่ยวกันคำศัพท์ใหม่ๆ ในแวดวงไอทีนับว่าเป็นข้อได้เปรียบสำหรับผู้สื่อข่าว ถ้ามีความรู้ ความเข้าใจในศัพท์เฉพาะต่างๆ จะทำให้ผู้สื่อข่าวสามารถเข้าใจในเรื่องที่แหล่งข่าว หรือข้อมูลที่ได้มาได้เป็นอย่างดี คำศัพท์เฉพาะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำข่าวสายไอทีนั้นมีมากมาย แต่ในที่นี้จะขอยกเพียงคำศัพท์ที่มักพบบ่อยๆ ในการทำข่าวสายไอที ได้แก่



1
Data
ข้อมูล ทุกสิ่งที่นำเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์


2
Database

ฐานข้อมูล ที่รวมของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน และจัดเป็นหมวดหมู่เพื่อให้ค้นหาได้ง่าย


3
Digital

ดิจิตอล , การแสดงข้อมูลเป็นตัวเลข


4
File

แฟ้มข้อมูล กลุ่มของเรคคอร์ดตั้งแต่ 1 เรคคอร์ด ขึ้นไป รวมถึง มีความหมายเกี่ยวพันในเรื่องเดียวกัน เช่น เรคคอร์ดของพนักงงานทั้งหมดในบริษัท


5
Hardware

อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็น เครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น จอมอนิเตอร์ เคน ฮาร์ดดิสก์


6
Software

โปรแกรมควบคุมระบบ โปรแกรมอำนวยความสะดวกหรือ โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ (software package : โปรแกรมสำเร็จรูป)


7
Login
การติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์


8
Logout

การเลิกติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เลิกการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์


9
Load

บรรจุ การบรรจุโปรแกรมจากแผ่นจานแม่เหล็ก ลงสู่หน่วยความจำหลักชองเครื่องคอมพิวเตอร์


10
Modem

โมเด็ม เป็นอุปกรณ์รอบนอกชนิดหนึ่ง ซึ่งช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถส่งและ รับข้อมูลผ่านทางสายโทรศัพท์ได้ อุปกรณ์สื่อสารข้อมูลนี้ มีหน้าที่แปลงสัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเทอร์มินอลเป็นสัญญาณไฟฟ้า ส่งผ่านสายโทรศัพท์ และเปลี่ยนสายสัญญาณไฟฟ้ากลับมาเป็น สัญญาณคอมพิวเตอร์เมื่อถึงปลายทาง "Modulate Demodulator"


11
On-line

การทำงานโดยการติดต่อสื่อสาร โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำงานโดยอยู่ในความควบคุมของพีซี เช่น เครื่องพิมพ์ ถ้า On-line จะรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ จะไปรับข้อมูลจากแป้นพิมพ์


12
Network

เครือข่าย ระบบที่มีการเชื่อมโยงกันระหว่าง เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องเทอร์มินอล หรือ1. การเป็นสมาชิกมีสายสัมพันธ์กับองค์กร เพื่อประโยชน์ทางข้อมูล ข่าวสารและวิชาชีพ 2. ในวงการเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เครือข่ายการสื่อสารผ่านส่งข้อมูลข่าวสาร ระหว่างเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ในระบบนั้น เช่น เครือข่ายของระบบโทรคมนาคม, เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเป็นกลุ่ม โดยระบบเครือข่ายมีทั้งระบบเครือข่ายคลุมพื้นที่กว้าง (LAN :Local Area Network) , ระบบเครือข่ายส่วนบุคคล หรือกึ่งส่วนบุคคลปกติไว้ใช้รับส่งข้อมูลเชิงพาณิชย์ (VAN : Value-Added Network), ระบบเครือข่ายในเขตปริมณฑล (MAN : Metropolitan Area Network) ระบบเครือข่ายในมหาวิทยาลัย (CAN : campus Area Network)


13
Password

รหัสผ่าน รหัสซึ่งเป็นความลับ รู้เฉพาะผู้ใช้งานเพียงคนเดียว ใช้ในการติดต่อระบบที่มีผู้ใช้งานหลายคน เพื่อป้องกันบุคคลอื่นซึ่งไม่มีหน้าที่เข้าถึงโปรแกรม หรือแฟ้มข้อมูล


14
IP

หรือ Internet protacal มาตรฐานในการติดต่อสื่อสารเลเยอร์ (Layer) ที่ 3 (มาตรฐาน ISO มี 7 Layer ) ของเครือข่ายที่ควบคุมกิจกรรมในการติดต่อ ระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบอินเตอร์เน็ต


15
IRC

หรือ Internet Relay Chat คือ โปรแกรมบริการ ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กับผู้อื่นในระบบอินเตอร์เน็ต


16
ISP

หรือ Internet Service Provider หมายถึง ผู้ให้บริการทางอินเตอร์เน็ต โดยคิดค่าบริการจากเวลาในการใช้งาน ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อัตราค่าบริการขึ้นอยู่กับ บริ ษัทของแต่ละประเทศ ตัวอย่างผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย เช่น เอเชียเน็ต ทรูอินเตอร์เน็ต เป็นต้น


17
MIME

ย่อมากจาก Multipurpose internet Mail Extensions มาตรฐานสำหรับระบุชนิดของข้อมูล ซึ่งถูกคิดค้นมาเพื่อการแนบไฟล์ไปกับอี-เ มล์ (E-mail) แต่ต่อมาถูกใช้ในหลายๆ งาน เช่น ระบบเวบ (Web) ด้วย เช่น เท็กซ์/เอชทีเอ็มแอล (text/html) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร และเป็นข้อมูล HTML


18
SLIP

หรือ Serail Line Internet Protocalข้อกำหนด หรือวิธีของการเชื่อมโยงอินเตอร์เน็ตแบบอนุกรม โดยผู้ใช้หรือบริษัทใช้สายโทรศัพท์และโมเด็ม (Modem) โดยไม่ต้องผ่าน เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Host computer) เพื่อเชื่อมโยงกับระบบอินเตอร์เน็ตการเชื่อมโยง “SLIP” ต้องเช่าจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP)


19
TCP/IP

หรือ Transmission Control Protocol/Internet Protocol กฏเกณฑ์ หรือมาตรฐานที่ใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ ที่แตกต่างกันในระบบอินเตอร์เนต ให้ติดต่อกันได้โดย IP ทำหน้าที่แยกข่าวสาร (Message) เป็น Package ย่อยๆ ส่วน TCP ทำหน้าที่จัด และรวม packets ทั้งหมดเป็นข่าวสาร


20
VOIP

ย่อมาจาก Voice Over IP หรือ Voice Over Internet Protocol เทคโนโลยีส่งข้อมูลแบบเสียง โดยนำข้อมูลเสียงมา แปลงให้อยู่ในรูปของ Packet แบบ IP แล้วส่งไปในเครือข่าย


21
CAD

Computer Aided Design การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ หรือเขียนแบบเครือข่าย


22
CAI
Computer Aided Instruction การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในการสอนวิชาความรู้ต่างๆ


23
CERT

Computer Emergency Response Teamองค์การที่รับผิดชอบเกี่ยวกับไวรัสชนิดต่างๆ รวมทั้งบริการส่งอี-เมล์ (e-mail) เตือนภัยต่างๆ ทั้งไวรัสจริง และไวรัสปลอม http://www.cert.org/


24
CIAC

Computer incident Adcisory Capabilityหน่วยงานหนึ่งในอเมริกาที่รับผิดชอบ เกี่ยวกับรายชื่อไวรัสในคอมพิวเตอร์ที่มีจริง และที่หลอกเล่น รวมทั้งคำแนะนำต่างๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ในแวดวงคอมพิวเตอร์


25
Computer
อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูล ที่อาจเป็นได้ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์อื่นที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่างๆ โดย คุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือ การที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้าได้ หรือโปรแกรมได้เ ครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความถูกต้อง และมีความรวดเร็วหรือเครื่องจักรสมองกล เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานได้หลายอย่าง ตั้งแต่งานพิมพ์เอกสาร บันทึกและประมวลผลข้อมูล คำนวณ การทำบัญชี การใช้เป็นเครื่องมืออัตโนมัติ เป็นสำนักงานอัตโนมัติ และใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานด้านข้อมูล และสารสนเทศ เป็นต้น คอมพิวเตอร์สามารถแบ่งตามความสามารถในการทำงาน ได้หลายแบบ ตั้งแต่ไมโครคอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มินิคอมพิวเตอร์ เมนเฟรม ไปจนถึง ซูเปอร์คอมพิวเตอร์


26
Computer Down

การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ทำงาน ณ ขณะนั้นเนื่องจากเสีย กำลังซ่อมบำรุง กำลังปรับปรุงระบบใหม่ หรือกำลังพัฒนา(w)โปรแกรมต่างๆ เป็นต้น


27
Host Computer

เครื่องคอมพิวเตอร์หลัก ที่ใช้เชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ตโดยตรง เรียกว่า “คอมพิวเตอร์แม่ข่าย”


28
SCSI

Small Computer System Interfaceการเชื่อมโยงแบบสมรรถนะสูงระหว่าง อุปกรณ์กับข้อมูลความเร็วสูงกับบัสของเซิร์ฟเวอร์ (Server) สามารถใช้กับอุปกรณ์ภายนอก คล้าย EDIE แต่มีราคาสูงกว่า สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้พร้อมกันมากกว่า 15 ตัวความเร็วสูงและแม่นยำประสิทธิภาพโดยรวมสูงกว่า EIDE


29
M-Commerce

การทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านอุปกรณ์ไร้สาย หรืออุปกรณ์มือถือต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ เพจเจอร์ เครื่องโน้ตบุ๊ค ยกตัวอย่างเช่น เทคโนโลยี WAP(Wireless Application Protocol) และบูลทูธ (Bluetooth)


30
EDI

Electronic Data Interchange หมายถึง กระบวนการที่ช่วยให้องค์กร ทางธุรกิจสามารถแลกเปลี่ยนเอกสาร ที่เป็นแบบฟอร์มต่างๆ เช่น ใบส่งของ ใบสั่งซื้อ หรืออื่นๆ ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้สะดวก รวดเร็ว แม่นยำ ลดเอกสารลงได้มาก รวมทั้งเชื่อมโยงกกับระบบการควบคลุมคลังสินค้าได้ดี


31
Internet Banking

Web Banking หมายถึง การทำธุรกรรมต่างๆ กับธนาคาร โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น การฝากเงิน ถอนเงิน โอนเงิน หรือ สอบถามยอดเงิน เป็นต้น


32
WAP

Wireless Application Protocol หมายถึง เทคโนโลยีซึ่งสามารถทำให้อุปกรณ์ไร้สายต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องปาล์ม (Palm) หรือแม้แต่เพจเจอร์ กลายเป็นอุปกรณ์สำหรับอินเตอร์เน็ตไร้สาย


33
Dynamic Web Page

เป็นเวบเพจ ( Web Page) หรือโฮมเพจ (Home Page) ที่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือรับเปลี่ยนแบบโต้ตอบ โดยขึ้นกับการตอบสนองของผู้ใช้ ที่ใช้ผ่านเวบ เบราเซอร์ (Web Browser) ของผู้ใช้ Dynamic Web Page ทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่าสามารถควบคุมการค้นหาแฟ้มข้อมูล ฐานข้อมูล และการประยุกต์ใช้งานอย่างอื่นๆ การสร้างอาจใช้รูปแบบ (FORM) ของเอชทีเอ็มแอล (HTML) หรือใช้ซีจีไอ (CGI) หรือใช้ภาษาสคริปต์ (Script) ต่างๆ เช่น Java Script, Jscritp และ VB Script เป็นต้น


34
Static Web Page

เป็นเวบเพจ (Web Page) หรือโฮมเพจ (Home Page) ที่ถูกกำหนดตายตัว จะเปลี่ยนแปลงได ้ในกรณีถูกแทน หรือแก้ไขเพิ่มเติมโดยผู้ควบคุมระบบเท่านั้น ผู้ใช้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโต้ตอบ หรือควบคุมการค้นหาข้อมูลในฐานข้อมูลได้



จัดทำโดย นางสาวชลาลัย จันทร์ยอด

คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเคมีทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

รหัสนักศึกษา 52050852


ศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับเพลงพื้นบ้าน



ศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับเพลงพื้นบ้าน

ศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับเพลงพื้นบ้านที่ควรทราบมีดังนี้

พ่อเพลง หมายถึง ผู้ร้องเพลงนำในเพลงโต้ตอบของฝ่ายชายของชาวภาคกลาง
แม่เพลง หมายถึง ผู้ร้องเพลงนำในเพลงโต้ตอบของฝ่ายหญิง
คอต้น หมายถึง ผู้ร้องเพลงโต้ตอบคนแรก
คอสอง คอสาม หมายถึง ผู้ร้องคนที่สอง ที่สาม ตามลำดับ
ช่างซอ หมายถึง ผู้ร้องเพลงพื้นบ้านของภาคเหนือทั้งชายและหญิง
คู่ถ้อง หมายถึง ช่างซอที่มารวมวงร้องเพลงโต้ตอบกัน

หมอลำ หมายถึง ผู้ร้องเพลงพื้นบ้านภาคอีสานทั้งชายและหญิง
หมอเพลง หมายถึง ผู้ร้องเพลงโคราชทั้งชายและหญิง
แม่คู่ หรือ แม่เพลง หมายถึง ผู้ร้องเพลงพื้นบ้านภาคใต้ทั้งชายและหญิง
ท้ายไฟ หมายถึง ผู้ร้องเสริมหรือคอสอง ของ แม่คู่ หรือ แม่เพลง
อนึ่ง ผู้ร้องเพลงพื้นบ้านแบ่งได้เป็นสองประเภท ได้แก่ ผู้ร้องสมัครเล่น ที่ร้องเล่นเอาสนุก เป็นบางครั้ง ไม่ได้คิดค่าตอบแทน ไม่ได้ฝึกฝนมาโดยตรง และผู้ร้องอาชีพ ที่ฝึกฝนมาอย่างดี เล่นเป็นอาชีพ รับว่าจ้างไปแสดงในงานต่าง ๆ
ลูกคู่ หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่ร้องรับ ร้องซ้ำความ ร้องสอดแทรกขัดจังหวะ เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน และยังมีหน้าที่ให้จังหวะผู้ร้องโดยการปรบมือ ตีฉิ่ง ตีกรับ ตีกลองและอื่น ๆ สำหรับ ลูกคู่ในวงเพลงสวดมาลัยของภาคใต้ เรียกว่า “คู่หู” ( สุกัญญา ภัทราชัย ๒๕๓๓ : ๓๔๔-๓๔๕ )
ซอ หมายถึง เพลงโต้ตอบ หรือการขับร้องเพลงโต้ตอบของหญิงชายในเขตล้านนาไทย หรือภาคเหนือ
แบ่งครูซอ หมายถึง พิธีเชื้อเชิญวิญญาณผีครูซอมาปกปักรักษาศิษย์และมอบสิทธิ์ให้สอนคนอื่นต่อไป เป็นพิธีที่สำคัญมากของช่างซอ
จ๊อย หมายถึง การนำเอาคำประพันธ์ประเภทหนึ่งของภาคเหนือที่เรียกว่า “ค่าว” มาขับเป็นทำนองสั้น ๆ มักขับคนเดียว เนื้อร้องเป็นบทสั้น ๆ เนื้อหามุ่งแสดงความในใจหรืออารมณ์ต่าง ๆ ( เอนก นาวิกมูล ๒๕๓๓ : ๔๒๒ )
ลำ หมายถึง การร้องเพลงพื้นบ้านของภาคอีสาน
ครูเพลง หมายถึงผู้ที่ชาวเพลงเคารพนับถือในฐานะผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ในการเล่นเพลง ครูเพลงมีสองประเภท ได้แก่ ครูเพลงที่เป็นจิตวิญญาณ อาจเป็นเทพหรือผีที่ศิลปินนับถือ เช่น พระนารายณ์ ฤาษีหรือพ่อแก่ เป็นต้น รวมทั้งครูที่ล่วงลับไปแล้ว และครูเพลงที่เป็นมนุษย์ ได้แก่ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่ามีความรู้และความสามารถสูง เป็นผู้ที่มีคนมาฝากตัวเป็นศิษย์ เช่น แม่บัวผัน จันทร์ศรี แม่ประยูร ยมเยี่ยม ครูชินกร ไกรลาศและแม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ เป็นต้น
ครูพักลักจำ หมายถึง ครูที่ผู้ร้องมิได้ฝากตัวเป็นศิษย์โดยตรง แต่แอบฟังแอบจำกลอนเพลงหรือลีลาการร้องการรำแล้วนำมาใช้ในการเล่นเพลงของตน
เพลงตับ หมายถึง เพลงที่ผูกขึ้นเป็นเรื่อง คำว่า “ตับ” หมายถึง บทหรือชุด เช่น เพลงตับตอ เพลงตับชิงชู้ เพลงตับถามบาลี เพลงตับตีหมากผัว เพลงตับหมา เพลงตับรถเครื่อง เพลงตับเช่านา เพลงตับกัดปลาตีไก่ เพลงตับจู๋ เพลงตับผูกรัก เพลงตับบวชนาค เพลงตับเผาศพ เป็นต้น
กลอนหัวเดียว หมายถึง กลอนที่มีคำสุดท้ายของวรรคหลังลงด้วยเสียงสระและเสียงพยัญชนะตัวสะกดเสียงเดียวกันทุกคำกลอน เช่น ลงด้วยเสียงสระไอ เรียกว่า กลอนไล เป็นต้น
กลอนแดง หมายถึง กลอนที่มีคำกล่าวถึงอวัยวะเพศและพฤติกรรมทางเพศอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีการเลี่ยง
หักข้อรอ หมายถึง การหยุดและร้องข้ามคำที่กล่าวถึงอวัยวะเพศและพฤติกรรมทางเพศอย่างตรงไปตรงมา เป็นการเว้นวรรคให้ผู้ฟังเติมคำนั้นเองในใจ เพื่อหลีกเลี่ยงความหยาบคายและสร้างความตลกขบขัน
ขึ้นเพลง หมายถึง การเริ่มร้องเพลงโดยการเอื้อนเสียงในลักษณะต่าง ๆ เช่น เพลงฉ่อย พ่อเพลงบางคนจะขึ้นว่า “ เฮิงเงิงเงอเอ่อเอิงเอ๊ย” แม่เพลงจะขึ้นว่า “ เอ๊ย..เอย...” เพลงเต้นกำหรือเพลงเกี่ยวข้าวจะขึ้นว่า “ เอิงเออเอ้อเออ ชะเอิงเอิงเออ ชะเอิงเอิงเอ๊ย” เป็นต้น
ลงเพลง หมายถึง การทอดเสียงหรือหยอดเสียงในตอนท้ายหรือเมื่อร้องเพลงแต่ละบทหรือแต่ละท่อนจบลง ถ้าเป็นเพลงโต้ตอบผู้ร้องมักจะลงเพลงเพื่อให้ลูกคู่รับในตอนท้าย ซึ่งเพลงแต่ละชนิดจะมีลีลาการลงเพลงที่แตกต่างกัน บางชนิด เช่น เพลงฉ่อยและเพลงเกี่ยวข้าว จะลงเพลงตอนท้ายเพียงครั้งเดียว แต่บางชนิด เช่น เพลงอีแซว จะลงเพลง ๒ ครั้งคือทั้งวรรคแรกและวรรคหลัง นอกจากจะลงเพลงในตอนท้ายดังกล่าวแล้ว บางครั้งผู้ร้องก็อาจลงเพลงในช่วงต้นหรือช่วงกลางของเพลงแต่ละบทหรือแต่ละท่อนเพื่อพักเสียงหรือนึกเนื้อเพลงก็ได้
รับเพลง หมายถึง การร้องซ้ำของลูกคู่ ซึ่งอาจร้องซ้ำในส่วนของสร้อยเพลง เช่น ลำตัด ร้องซ้ำวรรคท้าย เช่น เพลงระบำบ้านไร่ เพลงพวงมาลัย ร้องซ้ำสองสามคำท้าย เช่น เพลงอีแซว หรือร้องรับด้วยคำอื่น ๆ เฉพาะเพลงนั้น ๆ เช่น เพลงฉ่อย รับว่า “ เอ่ชา เอชา ชา ฉ่า ฉ่า ชา นอยแม่” เป็นต้น
พานกำนล หมายถึง พานไหว้ครู ประกอบด้วย ดอกไม้ ธูป เทียน เงินไหว้ครู หมากพลู บุหรี่ และอื่น ๆ ตามที่ครูกำหนด ซึ่งชาวเพลงต้องจัดหามาประกอบการร้องเพลงไหว้ครูทุกครั้งที่แสดงหรือประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการไหว้ครู
ยกครู หมายถึง การประกอบพิธีบูชาครูเพื่อมอบตัวเป็นศิษย์อย่างเป็นทางการ บางแห่งเรียกว่า “จับมือ” ซึ่ง ตรงกับคำว่า “ครอบครู” ของนาฏศิลป์ แต่พิธีกรรมจะง่ายกว่า บางคนอาจนำพานกำนล ซึ่งประกอบด้วยดอกไม้ ธูปเทียน หมาก พลู บุหรี่ เข็ม เงินค่ากำนล ไปกราบฝากตัวเป็นศิษย์เท่านั้น หรืออาจจะตั้งเครื่องบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์และครูเพลงเพิ่มขึ้นก็ได้ ส่วนสำคัญอยู่ที่การแสดงออกของครูเพลงว่าได้ยอมรับบุคคลนั้นเป็นศิษย์แล้ว เช่น การจับมือรำ การต่อเพลงปากเปล่า การให้ศิษย์ร้องเพลงไหว้ครู เป็นต้น
ด้นเพลง หมายถึง การแต่งเนื้อเพลงแล้วร้องทันทีขณะที่เล่นหรือแสดง เป็นการคิดหาถ้อยคำอย่างฉับพลัน ซึ่งต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและปฏิภาณไหวพริบอย่างสูงของผู้ร้อง
ต่อเพลง หมายถึง การฝึกหัดเพลงโดยการจดจำเนื้อร้องจากครูเพลงที่จะบอกให้ทีละบทหรือทีละวรรค เมื่อศิษย์จำได้แล้วก็จะบอกเนื้อร้องบทต่อไปเรื่อย ๆ เป็นการถ่ายทอดเพลงแบบ มุขปาฐะหรือปากต่อปาก
เรียบเรียง:นางสาวภัทรนิดา แถวเพีย
52050899 คณะวิทยาศาสตร์
สาขาเคมีทรัพยากรสิ่งแวดล้อม