BLOGGER TEMPLATES - TWITTER BACKGROUNDS »

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552

คำศัพท์ทางวิชา ฟิสิกส์

คำศัพท์ทางวิชา ฟิสิกส์


1.ความเร่ง คือ การเพิ่มหรือลดความเร็วทุกๆวินาที วัดเป็นเมตรต่อวินาทียกกำลังสอง

2.กระแสสลับ(a.c.) คือ กระแสไฟฟ้าที่ไหลกลับทิศทางตลอดเวลา

3.แอมแปร์ (amp.) คือ หน่วยวัดกระแสไฟฟ้า

4.ความกว้างของคลื่น คือ ความสูงของคลื่นหรือความกว้างของการสั่นสะเทือน

5.หลักของอาร์คิมีดิส คือ วัตถุจะลอยในของเหลวได้ ต้องแทนที่น้ำหนักของของเหลวเท่ากับน้ำหนักของวัตถุ

6.อะตอม คือ อนุภาคที่เล็กที่สุดของธาตุ ซึ่งสามารถมีส่วนร่วมในปฏิกิริยาทางเคมี

7.จุดศูนย์ถ่วง คือ จุดที่ถือว่าน้ำหนักของวัตถุทั้งระบบไปรวมกันที่จุดนั้น

8.ตัวนำ คือ สารหรือวัตถุที่มีความต้านทานน้อยต่อกระแสไฟฟ้าหรือความร้อน

9.กฎทรงพลังงาน คือ พลังงานของระบบย่อมคงที่ ไม่ว่าระบบนั้นๆ จะเปลี่ยนสภาพไปอย่างไรก็ตาม

10.การพาความร้อน คือ การถ่ายทอดความร้อนในของเหลว หรือแก๊สโดยการเคลื่อนที่ของของเหลงหรือแก๊สเอง

11.คูลอมบ์(Coulomb) คือ หน่วยของประจุไฟฟ้า 1คูลอมบ์ คือ ประจุที่เคลื่อนที่ใน1วินาที โดยให้กระแสไฟฟ้า1แอมแปร์

12.กระแสไฟฟ้า คือ อัตราการไหลของประจุไฟฟ้า หน่วยวัดเป็นแอมแปร์
13.อิเล็กตรอน คือ ประจุไฟฟ้าลบที่มีขนาดเล็กที่สุดในอะตอมอิเล็กตรอนอิสระ จะเคลื่อนที่ในสสารที่เป็นสื่อไฟฟ้า
14.พลังงาน คือ สิ่งซึ่งสามารถทำงานได้ มีหน่วยวัดเป็นจูล
15.แรง คือ สิ่งที่สามารถทำให้วัตถุเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ มีหน่วยวัดเป็นนิวตัน
16. การสลายตัว คือ การที่โมเลกุลของสารแตกตัวออกเป็นโมเลกุลเล็ก ๆ หรืออะตอมเช่นการสลายตัวโมเลกุลของน้ำจะได้โมเลกุลของแก๊สไฮโดรเจนกับออกซิเจน
17. เดซิเมตร คือ หน่วยวัดระยะเท่ากับ 0.1 เมตร
18.แรงองค์ประกอบ (component forces) แรงแรงหนึ่งสามารถแยกออกเป็นแรงย่อย 2 แรงหรือมากกว่า แรงย่อยที่แยกออกนี้คือแรงองค์ประกอบ
19. absorption of colour การดูดกลืนสี คือการที่แผ่นกรองแสงดูดกลืนแสงบางความยาวคลื่นไว้ และปล่อยแสงความยาวคลื่นที่เหลือให้ผ่านแผ่นกรองแสงออกไป ตัวอย่างเช่น แผ่นกรองแสงสีแดงจะดูดกลืนความยาวคลื่นของแสงสีอื่นไว้ แล้วปล่อยให้ความยาวคลื่นแสงสีแดงเท่านั้นผ่านออกไป ความเข้มของแสงที่ผ่านแผ่นกรองออกไปจะมีความเข้มน้อยกว่าความเข้มของแสงที่ผ่านเข้ามายังแผ่นนั้น
20. diathermy กรรมวิธีทางการแพทย์ในการรักษาเนื้อเยื่อของร่างกายด้วยการให้ความร้อนที่ได้จากการส่งผ่านกระแสไฟฟ้าความถี่สูง วิธีนี้ช่วยให้คนไข้คลายความเจ็บปวดจากกล้ามเนื้อ หรือจากกระดูกและข้อต่อ
21. electron microscope กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจการอย่างเดียวกับกล้องจุลทรรศน์แบบธรรมดา แต่มีกำลังขยายสูงกว่ามาก แทนที่ใช้ลำแสงสว่างส่องวัตถุที่จะดูให้เห็นสว่างขึ้น กลับใช้ลำอิเล็กตรอนจากเครื่องยิงอิเล็กตรอนแทน วัตถุที่ดูต้องเป็นแผ่นบางมากๆ เพื่อให้ลำอิเล็กตรอนเคลื่อนที่ผ่านได้
22. Transformer หม้อแปลงไฟฟ้า ประกอบด้วยขดลวด 2 ขดพันรอบแกนเดียวกัน แกนนี้ทำด้วยสารแม่เหล็กชั่วคราว ใช้สำหรับเปลี่ยนแรงเคลื่อนไฟฟ้าสลับในชดลวดหนึ่งเป็นแรงไฟฟ้าค่าต่างๆในขดลวดอื่น เช่นแหล่งจ่ายไฟฟ้า

23.Primary coil ขดลวดปฐมภูมิ ขดลวดในหม้อแปลงไฟฟ้า ซึ่งป้อนแรงเคลื่อนไฟฟ้าสลับเข้าไปให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าในขดลวดทุติยภูมิ

24.Secondary coil ขดลวดทุติยภูมิ ขดลวดในหม้อแปลงไฟฟ้าซึ่งมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าสลับเหนี่ยวนำเกิดขึ้น เมื่อป้อนแรงเคลื่อนไฟฟ้าเข้าไปในขดลวดปฐมภูมิ หม้อแปลงบางตัวมีขดลวดทุติยภูมิมากกว่า 2 ชุด

25.Turn ratio อัตราส่วนขดลวด เป็นอัตราส่วนระหว่างขดลวดปฐมภูมิกับขดลวดทุติยภูมิ มีค่าเท่ากับอัตราส่วนระหว่างแรงเคลื่อนไฟฟ้าในขดลวดปฐมภูมิกับทุติยภูมิ

26.Friction force or friction แรงเสียดทานเป็นแรงที่กระทำต้านการเคลื่อนที่ของผิววัตถุ 2 ชนิด ที่แตะกันเกิดขึ้นจากแรงระหว่างโมเลกุลของผิวทั้งสอง แรงเสียดทานมี 2 ชนิดคือ แรงเสียดทานสถิต และแรงเสียดทานจลน์

27.ตำแหน่งเชิงมุม คือ มุมที่วัตถุแข็งเกร็งหมุนรอบแกนคงที่หนึ่ง หน่วยเป็นเรเดียน

28.เรโซแนนท์เป็นปรากฎการณ์ที่แรงจากภายนอกสามารถส่งถ่ายพลังงานให้กับระบบได้สูงสุด ซึ่งจะนำไปสู่แอมพลิจูดที่มากขึ้นในแต่ละรอบของการสั่น เรโซแนนท์สามารถเกิดกับการเคลื่อนที่ได้ทุกชนิด ที่เป็นการสั่น และไม่จำเป็นต้องเป็นมวลที่ติดกับสปริงอย่างเดียว ยกตัวอย่างเช่นการขึ้นและลงของน้ำ ในแม่น้ำ ทะเล และมหาสมุทร เป็นต้น ถือเป็นการสั่นสะเทือนได้เช่นเดียวกัน ที่อ่าวฟันดี้ (Fundy) ประเทศแคนาดา ระดับน้ำต่ำสุดและสูงสุดจะห่างกันประมาณ 15 m ซึ่งเป็นระดับที่สูงมาก ปรากฏการณ์นี้คือ การเรโซแนนท์

29.kinetic energy พลังงานจลน์ พลังงานที่มีในวัตถุได้เมื่อวัตถุเคลื่อนที่ พลังงานจลน์ของวัตถุมวล m เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว v จะมีค่า 1/2 mv2 พลังงานมีค่าเป็นจูล เมื่อมวลมีหน่วยเป็นกิโลกรัม และความเร็วเป็นเมตรต่อวินาที

30.hydrogen peroxide , peroxide of hydrogen H2 O2 ของเหลวข้นคล้ายน้ำเชื่อม จุดเดือด 150.2 องศาเซลเซียส ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ขายกันทั่วไปเป็นสารละลายของสารประกอบบริสุทธิ์ในน้ำ สลายให้ออกซิเจนได้ง่าย ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อและยาฟอกสี ความแรงของสารละลายมักบอกเป็นความแรงทางปริมาตร เช่น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 10 ปริมาตร จะสลายให้ก๊าซออกซิเจนออกมา 10 เท่า ของปริมาตรเดิมของมัน

31.กฎของเกาส์ เราสามารถคำนวณหาสนามไฟฟ้าของจุดประจุได้โดยตรงจากกฎของคูลอมบ์ แต่ถ้าเป็นประจุที่กระจายอย่างต่อเนื่อง ต้องผ่านการอินทิเกรต และขั้นตอนการอินทิเกรต บางกรณีซับซ้อนเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตามหลังจากกฎของคูลอมบ์ได้ตั้งขึ้นไม่นาน นายเกาส์ ซึ่งเป็นชาวเยอรมัน และเป็นนักฟิสิกส์ และนักดาราศาสตร์ด้วย ได้ค้นพบวิธีทางคณิตศาสตร์ที่ลดทอนการอินทิเกรตให้ง่ายขึ้น โดยการหาความสัมพันธ์ระหว่าง ฟลักซ์ของสนามไฟฟ้ากับประจุซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของฟลักซ์
32.ความต้านทานตัวต้านทานบางชนิดทำด้วย ลวดนิโครมยาว ใช้ลดกระแสไฟฟ้าภายในวงจร ตัวต้านทานเปลี่ยนค่าได้หรือรีโอสแตท ใช้เปลี่ยนค่ากระแสไฟฟ้าภายในวงจร เมื่อเลื่อนปุ่มสัมผัสจะเป็นการเปลี่ยนความยาวของลวด
33.ของเหลวแม่เหล็กน้ำหมึกแม่เหล็กทำด้วยน้ำมัน เพื่อไม่ให้ลบออก ของเหลวแม่เหล็กนี้ใช้ตรวจจับรอยร้าวเล็กมากๆในผิวโลหะของท่อ รอยร้าวเหล่านี้ถ้าปล่อยไว้จะเป็นอันตรายมาก ให้ใช้ขดลวดพันรอบท่อแล้วทำให้เป็นแม่เหล็ก และทาด้วยของเหลวแม่เหล็ก ถ้ามีรอยร้าวเล็กๆ เส้นแรงแม่เหล็กจะรั่วออกจากท่อที่มีรอยร้าว ดังนั้นของเหลวแม่เหล็กจะแสดงให้เห็นรอยร้าวของท่อ น้ำมันแม่เหล็กใช้ในการหล่อลื่นแกนของมอเตอร์ และขดลวดของลำโพงโดยใช้แม่เหล็กช่วยให้น้ำมันแม่เหล็กไปอยู่ในที่ที่ถูกต้อง
34.Incandescence คือการเปล่งแสงสว่าง ออกมาเนื่องจากอุณหภูมิสูง หรือให้ความร้อนสูง จนวัตถุนั้นเปล่งแสงสว่างจ้า คุณคงเคยเห็นเหล็กที่มันร้อนแดง เมื่อมันอยู่ในเตาเผา และถ้าเหล็กร้อนจนถึงอุณหภูมิ 1000องศาฟาเรนไฮต์ ผิวเหล็กจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม ให้ลองสังเกตเตาไฟฟ้าที่ทำจากขดลวด หรือเครื่องปิ้งขนมปังก็ได้ ในอุปกรณ์ไฟฟ้าพวกนี้ กระแสไฟฟ้าจะให้ความร้อนกับขดลวด หรือเส้นลวดจนร้อนและเปล่งแสงออกมา และถ้าคุณเพิ่มอุณหภูมิจนถึง 4500องศาฟาเรนไฮต์ จะได้แสงสีเหลืองเกือบขาว ซึ่งก็คือแสงเดียวกันกับที่เปล่งออกจากหลอดไฟมีไส้นั่นเอง
35.inductance L สมบัติของวงจรไฟฟ้าอย่างหนึ่งซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงกระแสที่ไหลผ่านวงจร ทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าขึ้น หรือเมื่อเปลี่ยนแปลงกระแสในวงจรข้างเคียงซึ่งต่อเนื่องกันอยู่ด้วยแรงแม่เหล็ก แล้วเกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าขึ้น หน่วยอนุพันธ์ระบบ SI ของอินดัคแตนซ์ คือ เฮนรี่
36.Stroboscope เครื่องมือชนิดหนึ่งซึ่งช่วยให้สามารถมองเห็นวัตถุที่เคลื่อนที่เป็นรอบเป็นคาบอย่างรวดเร็วได้เหมือนกันวัตถุนั้นอยู่นิ่ง ตัวอย่างเช่น แผ่นเสียงหมุน 33 1/2 รอบต่อนาที ถ้าใช้แสงสว่างจากต้นกำเนิดอย่างหนึ่งซึ่งสามารถส่องแสงแวบได้ในความถี่เดียวกัน แล้วตาจะมองเห็นแผ่นเสียงนั้นได้ในทุกๆขณะที่แสงส่องแวบว่าอยู่ตรงตำแหน่งเดียวกับที่เห็นในขณะที่แสงแวบครั้งก่อนนั้น จึงปรากฎว่าเสมือนกับแผ่นเสียงนั้นอยู่กับที่ ถ้าความถี่ของ
การเคลื่อนที่ไม่ตรงกับความถี่ของแสงแวบนัก จะเห็นเป็นว่าแผ่นเสียงดังกล่าวหมุนช้าๆ
37.ปริมาณพื้นฐาน (Fundamental quantities) ในทางฟิสิกส์ ได้แก่ ความยาว มวลสาร เวลา กระแสไฟฟ้า อุณหภูมิทางเทอร์โมไดนามิก ความเข้ม การส่องสว่างและปริมาณมวลสาร ในการจัดปริมาณพื้นฐานหรือปริมาณอื่นใดก็ตามจะวัดเทียบกับมาตรฐานอันหนึ่งซึ่งตกลงเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า มีปริมาณ 1 หน่วย ในระบบหน่วยมาตรฐานระหว่างชาติหรือระบบ SI
38.มวลนิ่ง คือ มวลของวัตถุขณะหยุดนิ่งเมื่อเทียบกับผู้สังเกต มักจะใช้คำนี้เมื่อพิจารณาวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้แสง เนื่องจากวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงจะมีมวลเพิ่มขึ้น
39. มอเดอเรเตอร์ เป็นสารที่ทำให้นิวตรอนที่มีพลังงานสูงวิ่งช้าลง โดยที่ไม่ดูดกลืนนิวตรอนเสียเองเพื่อจะได้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิสชันได้ดีขึ้น มอเดอเรเตอร์ จะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเชื้อเพลิง เช่น เชื้อเพลิงเป็น 235U มอเดอเรเตอร์ที่ใช้คือ น้ำ (H2O) ถ้าใช้ 238U มอเดอเรเตอร์ที่ใช้คือ Heavy water (D2O) ซึ่งมีนิวเคลียสของดิวเทอรอน (I2H) นอกจากนี้ในบางปฏิกิริยานิวเคลียร์อาจใช้แท่งคาร์บอน แกรไฟต์ หรือพาราฟิน

40.เดซิเบล เป็น หน่วยที่ใช้เปรียบเทียบระดับของกำลัง กล่าวคือ กำลังของสองระดัง เช่น P0 และ P เราเรียกว่าต่างกัน n เดซิเบล หน่วยเดซิเบลนี้มักใช้ในการบอกความเข้มของเสียง โดยที่ P เป็นความเข้มของเสียงที่ระดับหนึ่งที่ต้องการบอก และ P0 เป็นความเข้มของเสียงที่ระดับมาตรฐาน ซึ่งปกติถือเอาความเข้มเสียงซึ่งมีค่าต่ำสุดที่หูมนุษย์สามารถจะได้ยินและมีความถี่เดียวกับ P
41.ไดโอด คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตจากสารกึ่งตัวนำ มี 2 ขั้ว คือ ขั้ววกและขั้วลบ ไดโอด จะยอมให้กระแสไหลผ่านทางเดียว เวลาใช้งานจึงต้องต่อให้ถูกขั้ว ถ้าต่อสลับขั้วจะไม่มีกระแสไหล
42.ไดอะแฟรม คือ แผ่นวัตถุบาง ๆ ของกล้องถ่ายรูป ทำหน้าที่ปรับช่องแสงเพื่อให้ลำแสงผ่านเข้าไปยังฟิล์มได้มาน้อยตามต้องการ
43. คลื่นกระแทก คือ คลื่นที่มีหน้าคลื่นเป็นรูปกรวยในกรณีของเสียง เกิดจากแหล่งกำเนิดเสียงเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงกว่าความเร็วของคลื่นเสียงในตัวกลางนั้น ๆ ทำให้หน้าคลื่นของคลื่นที่ส่งออกมาซ้อนเรียงกันไปตามแนวการเคลื่อนที่ของแหล่งกำเนิดเสริมกันเป็นรูปกรวย โดยแหล่งกำเนิดจะอยู่ตรงปลายแหลม

44. ชัตเตอร์ เป็น แผ่นทึบแสงที่ทำหน้าที่ปิด – เปิด ให้แสงเข้ามาในกล้อง ซึ่งเราสามารถตั้งช่วงเวลาการให้แสงผ่านเข้าไปในกล้องได้โดยการปรับความเร็วชัตเตอร์ ถ้าวัตถุมีความสว่างมากก็เพิ่มความเร็วชัตเตอร์ขึ้น แต่ถ้าวัตถุมีความสว่างน้อยก็ต้องลดความเร็วชัตเตอร์ลง


45.ชันต์ คือ ตัวต้านทานที่มีค่าน้อย ๆ นำมาต่อขนานกับแกลแวนอมิเตอร์ เพื่อดัดแปลงแกลแวนอมิเตอร์ให้วัดกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่มีค่าเกินค่ากระแสสูงสุดของแกลแวนอมิเตอร์ (Ig) ได้

46.พลังงานกลเป็นพลังงานที่เกี่ยวข้อง กับการเคลื่อนที่โดยตรง เช่น ก้อนหินที่อยู่บนยอดเนินจะมีพลังงานศักย์กล (Potential mechanical energy) อยู่จำนวนหนึ่ง ขณะที่ก้อนหินกลิ้งลงมาตามทางลาดของเนิน พลังงานศักย์จะลดลง และเกิดพลังงานจลน์กลของการเคลื่อนที่ (Kinetic mechanical energy) ขึ้นแทน สิ่งมีชีวิตอาศัยพลังงานรูปนี้ในการทำงานที่ต้องมีการ เคลื่อนไหวเป็นประจำ เช่น การเดิน การขยับแขนขา การหยิบวัตถุ เป็นต้น

47.โพรเจกไทล์ เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุภายใต้อิทธิพลของสนามความโน้มถ่วงของโลกตลอดเวลา แนวการเคลื่อนที่มีลักษณะเป็นแนวโค้งพาราโบลา ซึ่งมีการกระจัดเกิดขึ้น 2 แนวพร้อมกัน คือในแนวดิ่งซึ่งเหมือนการเคลื่อนที่วัตถุตกแบบเสรีและในแนวราบซึ่งเหมือนการเคลื่อนที่ของวัตถุด้วยความเร็วคงตัว

48. เลขควอนตัม quantum number เป็นตัวเลขจำนวนเต็มที่มีค่าตั้งแต่ 1 ขึ้นไป จนถึงค่าอนันต์
N = 1,2,3,4,…
ตัวเลขควอนตัม ใช้บอกถึงสภาวะของอนุภาคขนาดเล็ก ๆ ในระดับอะตอมซึ่งตัวเลขควอนตัมแต่ละตัวจะทำให้รู้ถึงสมบัติต่าง ๆ ของอนุภาคในสภาวะนั้น ๆ ได้ เช่น ระดับพลังงาน โมเมนตัมเชิงมุม รัศมีวงโคจร อัตราเร็ว


49.ตัวต้านทานแปลี่ยนค่าได้ (Variable resistor) เป็นอุปกรณ์ที่ความต้่านทานเปลี่ยนได้โดย การเลื่อนจุดสัมผัส มีลักษณะเป็นขดลวดรอบแกนหรือแผ่นโค้ง ซึ่งมีจุดสัมผัสแตะอยู่ตัวต้านทานเปลี่ยนค่าได้สามารถใช้เป็นตัวแบ่งศักย์ไฟฟ้า เรียกว่า โพเทนชิออมิเตอร์


50. วีตสโตนบริดจ์ (Wheatstone bridge) เป็นวงจรที่ใช้วัด ความต้านทาน เมื่อเข็ม แกนแวนอมิเตอร์ชี้เลข 0 จะสามารถคำนวนความต้านทานที่ไม่รู้ค่าได้ จากตัวต้านทานที่รู้ค่าอีก 3 ตัวมิเตอร์บริดจ์ เป็นวงจรวีตสโตนบริดจ์ ชนิดหนึ่งซึ่งแทนตัวต้านทานที่รู้ค่า 2 ตัวด้วยเส้นลวดความต้านทานสูงยาว 1 เมตร จุดแตะที่เส้นลวดนี้ต่อกับแกลแวนอมิเตอร์





จัดทำโดย นางสาววัฒนาฤดี อึ้งมงคลชัย

คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเคมีทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

รหัสนักศึกษา 52050907

0 ความคิดเห็น: