BLOGGER TEMPLATES - TWITTER BACKGROUNDS »

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552

คำศัพท์ทางชีววิทยา

เนื้อเยื่อพืช

vascular bundle

วาสคิวลาร์บันเดิล : กลุ่มเนื้อเยื่อของพืชที่อยู่ถัดจากชั้นเพอริไซเคิลเข้าไป ประกอบด้วย เนื้อเยื่อโฟลเอม และไซเลม สำหรับพืชใบเลี้ยงคู่จะมีวาสคิวลาร์แคมเบียมอยู่ด้วย


vascular cambium

วาสคิวลาร์แคมเบียม : เนื้อเยื่อในพืชใบเลี้ยงคู่ อยู่ระหว่างโฟลเอม กับไซเลม ทำหน้าที่ แบ่งตัวสร้างเนื้อเยื่อโฟลเอมและไซเลมให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อการเจริญเติบโตของลำต้น


xylem parenchyma

ไซเลมพาเรนไคมา : เซลพวกหนึ่งของไซเลม ลักษณะเซลค่อนข้างกลมผนังเซลบาง


xylem fibre

ไซเลมไฟเบอร์ : เซลพวกหนึ่งของไซเลม ลักษณะเซลยาวเป็นเส้น หัวท้ายแหลม ผนัง เซลหนา

cambium
แคมเบียม : กลุ่มเซลในลำต้นพืชที่มีการแบ่งเซลอยู่ตลอดเวลา เรียงตัวอยู่ 2 บริเวณ คือ อยู่ในชั้นของเปลือกไม้ ทำให้เปลือกไม้หนาขึ้นและส่วนที่เรียงตัวอยู่ระหว่างโฟลเอมกับไซเลมจะทำให้เนื้อเยื่อทั้ง 2 ชนิดเพิ่มมากขึ้นระบบทางเดินทางเดินอาหาร

ระบบย่อยอาหาร


stomach
กระเพาะอาหาร : อวัยวะส่วนหนึ่งของทางเดินอาหารมีลักษณะเป็นถุง เป็นที่พักอาหาร และย่อยอาหารบางชนิดก่อนที่จะส่งต่อไปยังลำไส้เล็ก

esophagus
หลอดอาหาร : หลอดซึ่งเป็นทางผ่านของอาหารอยู่ระหว่างคอหอย กับกระเพาะอาหาร หลอดอาหารของคนยาวประมาณ 24 เซนติเมตร


small intestine
ลำไส้เล็ก : อวัยวะที่เป็นทางเดินอาหารต่อจากกระเพาะอาหารไปยังลำไส้ใหญ่ ทำหน้าที่ ย่อยและดูดซึมอาหารไปเลี้ยงร่างกาย ลำไส้เล็กของคนมีความยาวประมาณ 6 เมตร


lagre intestine
ลำไส้ใหญ่ : อวัยวะที่เป็นทางเดินอาหารต่อจากลำไส้เล็กไปยัง ทวารหนัก ทำหน้าที่รับกากอาหารจากลำไส้และดูดน้ำจากกากอาหาร ลำไส้ใหญ่ของคนมีความยาวประมาณ 1.5 เมตร


pharynx

คอหอย : ส่วนหนึ่งของทางเดินอาหารในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังชั้นสูง เป็นช่องทางร่วม ของหลอดลมกับหลอดอาหารระบบย่อยอาหาร


salivary glands
ต่อมน้ำลาย : ต่อมสร้างน้ำลายของคนมี 3 คู่คือ บริเวณโคนขากรรไกร 1 คู่ ใต้ ขากรรไกร 1 คู่ และใต้ลิ้นอีก 1 คู่
salivaน้ำลาย : ของเหลวซึ่งถูกขับออกมาจากต่อมน้ำลาย ประกอบด้วยน้ำเมือก เอนไซม์ อะไมเลสและสารอื่นๆ สำหรับช่วยในการย่อยอาหาร


pancreas
ตับอ่อน : อวัยวะภายในช่องท้องของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อยบาง ชนิดมาข่วยย่อยอาหารในลำไส้เล็ก และสร้างฮอร์โมนอินซูลินกับกลูคากอน


liver
ตับ : อวัยวะภายในช่องท้องของสัตว์มีกระดูกสันหลัง มีนห้าที่สำคัญ หลายประการเช่น ผลิตน้ำดี สะสมอาหาร ขจัดสารที่เป็นพิษ


หน้าที่ของหัวใจ

aorta
เอออร์ตา : เส้นเลือดใหญ่ที่มาจากเวนตริเคิลด้านซ้ายของหัวใจ มีแขนงแยกออกไปเพื่อนำเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย

artery
เส้นเลือดอาร์เตอรรี : เส้นเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจไปสู่เนื้อเยื่อต่างๆ มีผนังเหนียวและยืดหยุ่นได้ มีกล้ามเนื้อเรียบ ทำให้หดตัวหรือขยายตัวได้ดี

atrium
เอเตรียม : ห้องบนของหัวใจสัตว์มีกระดูกสันหลัง มีผนังบางกว่าเวนตริเคิล รับโลหิตจากส่วนต่างๆ ของร่างกายและจากปอด ส่งผ่านไปยังเวนตริเคิลต่อไป

bicuspid valve

ลิ้นไบคัสปิด : ลิ้นที่อยู่ระหว่างเอเตรียมซ้ายและเวนตริเคิลซ้าย ของหัวใจสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

pulmonary artery

พูลโมนารีอาร์เตอรี : เส้นเลือดที่นำเลือดซึ่งขาดออกซิเจนมาจากหัวใจห้องเวนตริเกิล ขาวไปยังปอด


pulmonary vein

พูลโมนารีเวน : เส้นเลือดที่นำเลือดซึ่งมีออกซิเจนมาจากปอดเข้าสู่หัวใจทางห้อง เอเตรียมซ้ายฮอร์โมน


ต่อมไร้ท่อ ฮอร์โมน

adrenal gland : ต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่งในร่างกายของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้นคือ อะดรีนัลคอร์เทกซ์ และอะดรีนัลเมดุลลา มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมน เช่น อะดรีนาลิน อัลโดสเตอโรน


adrenocorticotrophic hormone (ACTH)

ฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติโคโทรฟิน : ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ทำหน้าที่กระตุ้นอะดรีนัลคอร์เทกซ์


parathyroid gland

ต่อมพาราไธรอยด์ : ต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่งในร่างกายของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังอยู่ บริเวณลำคอติดกับต่อมไธรอยด์ ทำหน้าที่


สร้างพาราธอร์โมน

parthormone

พาราเธอร์โมน : ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมพาราไธรอยด์ ทำหน้าที่รักษาสมดุลของ แคลเซียม และฟอสฟอรัสในร่างกายให้คงที่

pineal gland

ต่อมไพเนียล : ต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่งของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง อยู่บริเวณกึ่งกลาง ระหว่างซีรีบรัมพูซ้ายและพูขวา ในสัตว์ชั้นต่ำทำหน้าที่รับแสง ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเมลาโตนิ


pituitary gland

ต่อมใต้สมอง : ต่อมไร้ท่อที่ติดกับส่วนล่างของสมองส่วนไฮโปธาลามัส ต่อมนี้แบ่งออก เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหน้า ส่วนกลาง และส่วนหลัง แต่ละส่วนสร้างฮอร์โมนต่างๆ กัน ฮอร์โมนเหล่านี้จะควบคุมต่อมไร้ท่อเกือบทั้งหมดของร่างกาย


adrenal gland

ต่อมหมวกไต : ต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่งในร่างกายของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้นคือ อะดรีนัลคอร์เทกซ์ และอะดรีนัลเมดุลลา มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมน เช่น อะดรีนาลิน อัลโด


hypothalamus

ไฮโปธาลามัส : ส่วนล่างของสมองส่วนหน้าที่ยื่นออกมาติดกับต่อม ใต้สมอง เซลประสาทของสมองบริเวณนี้ส่วนมากทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน ประสาทหลายชนิด ซึ่งควบคุมการสังเคราะห์ฮอร์โมนภายในต่อมใต้ สมอง


ระบบนิเวศ

age pyramid

ปิระมิดอายุ : แผนภูมิแท่งซ้อนกันเป็นรูปปิระมิดซึ่งแสดงให้เห็นจำนวนประชากรโดยกำหนดวัยหรือพัฒนาการทางด้านสืบพันธุ์เป็นเกณฑ์


herbivore

สัตวืกินพืช : มีฟันกล้ามแข็งแรง ไม่มีเขี้ยว


carnivore

ผู้บริโภคเนื้อสัตว์ : สิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีพโดยการกินเนื้อสัตว์ เช่น แมว เสือ สิงโต


omnivore
ผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์ : สิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีพอยู่ได้โดยได้รับพลังงานจากการกินทั้งพืช และสัตว์ เช่น คน ไก่


scavenger
ผู้บริโภคซากพืชซากสัตว์ : สัตว์ที่ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยกินซากพืช ซากสัตว์เป็นอาหาร เช่น แร้งกินสัตว์ตาย ไส้เดือนกินซากพืช เป็นต้นdecomposer ผู้ย่อยอินทรียสาร : กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีพโดยได้พลังงานจากการย่อยสลายซากของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ เห็ดราและแบคทีเรียบางชนิด


food chain
ห่วงโซ่อาหาร : ความสัมพันธ์ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศน์หนึ่งๆ ที่มีการถ่ายทอดพลังงานจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภคระดับต่างๆ โดยการกิน ต่อกันเป็นทอดๆ ดังแผนภาพ ข้าว --> แมลง-->นก-->คน


food web
สายใยอาหาร : ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศน์หนึ่งๆ ที่มีการถ่ายทอดพลังงานที่ประกอบด้วยหลายห่วงโซ่อาหาร

ผู้เขียน
นาย วษิษฐ์ สัมมาสุจริตกุล
สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ
รหัส52050371




1 ความคิดเห็น:

gabiyapp กล่าวว่า...

Online Gaming | DrmCDC.com
For a 아산 출장샵 comprehensive understanding of the casino market, 문경 출장샵 for a 제주 출장안마 comprehensive understanding of the casino market, online gaming as a 이천 출장안마 general term for 김포 출장안마 casino game  Rating: 5 · ‎9 reviews