BLOGGER TEMPLATES - TWITTER BACKGROUNDS »

วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552







คำศัพท์ทางดาราศาสตร์






ระจุกดาวทรงกลม
กระจุกดาวรูปทรงกลมประกอบด้วยดาวแก่สีแดงและอยู่ในบริเวณขอบนอกของดาราจักร
กระจุกดาวเปิด
กระจุกดาวประเภทนี้ได้อยู่ในกาแลคซี่ของเรากระจายกันอยู่บริเวณระนาบของกาแลคซี่ แต่ที่รู้จักกันดีก็คือกระจุกดาวลูก ไก่กระจุกดาวประเภทนี้จะมีดาวสีน้ำเงินเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งนักดาราศาสตร์เชื่อว่าเป็นกลุ่มดาวใหม่ที่มีอายุน้อย กระจุดดาวเหล่านี้จะมีอายุได้ ไม่เกิน 2-3 ล้านปีอย่างมากที่สุดไม่เกิน 10 ล้าน หลังจากนั้นก็จะหมดลงโดยการมอด หรือดาวแต่ละดวงแยกกันออกไปหรือกลุ่มดาวระ เบิดออกจากกัน
กระจุกดาวปิด
เป็นกลุ่มดาวที่มีอายุมาก มีดวงดาวรวมกันอยู่นับ 1,000-10,000 ดวงดาวที่มีอยู่ในกระจุกดาวประเภทนี้ส่วนมากจะ มีสีแดง พบอยู่ในกาแลคซี่ของเราประมาณ 1,000 กระจุก กระจายอยู่รอบศูนย์กลางของกาแลคซี่
กลุ่มดาว
การจัดเรียงตัวของดาวเป็นรูปร่างต่างๆ บนฟ้า รูปร่างของกลุ่มดาวขึ้นกับห่างไกลกันมาก และไม่เกี่ยวข้องกับกันเลย
ลื่นวิทยุ
คลื่นวิทยุส่วนใหญ่สามารถทะลุผ่านบรรยากาศลงมาถึงกล้องโทรทรรศน์วิทยุบนพื้นโลกได้ แต่คลื่นวิทยุขนาดยาวมากที่สุดจะ ถูกสะท้อนกลับออกไปโดยบรรยากาศชั้นสูงสุด
ังสีใต้แดง
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำในบรรยากาศจะดูดกลืนรังสีใต้แดงส่วนใหญ่ ดังนั้น จะต้องนำกล้องโทรทรรศน์รังสีใต้ แดงขึ้นไปกับเครื่องบิน บอลลูน หรือจรวด
รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า
ธารพลังงานแม่เหล็กและไฟฟ้าซึ่งเดินทางด้วยความเร็วแสงวัตถุทุกชนิดส่งรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดต่างๆ กัน เช่น แสง รังสีเอกซ์ และรังสีแกมมา โดยขึ้นกับกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวัตถุนั้น
แรงหนีศูนย์กลาง
แรงเทียมที่พยายามดึงวัตถุที่เคลื่อนที่เป็นวงกลมออกไปจากจุดศูนย์กลาง แรงนี้เกิดจากความเฉี่อยของวัตถุที่พยายามจะ เคลื่อนที่เป็นเส้นตรง และต่อต้านกับการถูกบังคับให้เคลื่อนที่โค้งเป็นวงกลม
รังสีเหนือม่วง
รังสีเหนือม่วงส่วนใหญ่จะถูกกั้นโดยชั้นโอโซนในบรรยากาศที่อยู่สูงประมาณ 50 กม. (31 ไมล์) จะต้องนำกล้อง โทรทรรศน์รังสีเหนือม่วงขึ้นไปเหนือชั้นนี้โดยจรวด หรือดาวเทียม
รังสีแกมมา
รังสีแกมมามีขนาดคลื่นสั้นที่สุด และทะลุผ่านบรรยากาศไม่ได้ แต่อาจมีรังสีบางส่วนผ่านลงมาในชั้นที่สามารถศึกษาได้จาก บอลลูน
รังสีเอกซ์
เรามักจะคิดว่ารังสีเอกซ์สามารถทะลุทะลวงได้ดี เช่น ทะลุผ่านเนื้อของเราได้ แต่รังสีเอกซ์ไม่สามารถทะลุผ่านบรรยากาศได้ จึงต้องศึกษารังสีนี้จากดาวเทียมหรือจรวด
รังสีของดวงอาทิตย์
แสงสว่างทำให้เราเห็นสิ่งต่างๆ รังสีเหนือม่วงทำให้ผิวดำคล้ำและรังสีใต้แดงทำความอบอุ่นแก่โลก
แรงโน้มถ่วง
แรงดึดดูดระหว่างวัตถุ แรงดึงดูดจะมีค่ามากเมื่อวัตถุมีมวลมากและระยะทางระหว่างกันมีค่าน้อย
าวแคระขาว
ดาวที่ปราศจากเชื้อเพลิงและกำลังจะตาย ดาวส่วนใหญ่จะกลายเป็นดาวแคระขาวภายหลังจากที่ใช้เวลาช่วงสั้นช่วงหนึ่งใน ชีวิตเป็นดาวยักษ์สีแดง
ดาวยักษ์แดง
ดาวแก่ที่แกนกลางได้ยุบตัวลงและร้อนขึ้น ส่วนเนื้อดาวชั้นนอกได้ขยายตัวออกและเย็นลง ดาวยักษ์แดงบางดวงมีขนาดโตถึง 300 เท่าของดวงอาทิตย์
ดาวยักษ์ใหญ่ ขั้นตอนสุดท้ายในชีวิตของดาวรุ่นใหญ่ ดาวยักษ์ใหญ่อาจมีขนาดถึงกว่า 1,000 เท่าของดวงอาทิตย์ และสว่างกว่าดวงอาทิตย์หลายล้านเท่า
บิวลา
กลุ่มก๊าซและฝุ่นละอองขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นที่เกิดแห่งดาวเนบิวลาดาวเคราะห์ ชั้นทรงกลมของก๊าซที่พ่นออกมาจากดาวแก่ที่กำลังจะจบชีวิตลง เนบิวลานี้ดูเหมือนดาวเคราะห์เมื่อมองดูด้วยกล้อง โทรทรรศน์ ทรงกลมท้องฟ้า ในคืนที่อากาศปลอดโปร่ง เราจะเห็นดาวเสมือนหนึ่งจุดสีที่แต้มบนเพดานโดมขนาดใหญ่ ความจริงดาวแต่ละดวงอยู่ห่าง กันมาก แต่เราสามารถใช้ทรงกลมท้องฟ้าในการแสดงตำแหน่งของดาวตามที่ปรากฎได้ ทรงกลมท้องฟ้ามีลักษณะคล้ายกับลูกโลก คือ มีขั้วเหนือ และใต้ และเส้นศูนย์สูตรซึ่งคล้องจองกับโลก เราอาจทำแผนที่ดาวได้โดยใช้ทรงกลมท้องฟ้า เช่นเดียวกับการทำแผนที่โลก
ีแสง
หน่วยวัดระยะทางที่นักดาราศาสตร์ใช้ เป็นระยะทางที่แสงเดินทางในหนึ่งปีหรือ 9.46 ล้านล้านกิโลเมตร
หานวดารา
การระเบิดของดาวรุ่นใหญ่ขณะจบชีวิตลง มหานวดารามีความสว่างกว่าดาวธรรมดาถึงหลายพันล้านเท่าภายในช่วงเวลาสั้นมาก
ลังงานของดาว
พลังงานที่ได้จากปฏิกิริยาการหลอมตัวในระเบิดไฮโดรเจน เทียบได้กับพลังงานของดาวในเวลาเพียงเสี้ยววินานีเท่านั้น พลังงานที่เกิดขึ้นในใจกลางดาวโดยปฏิกิริยาการหลอมตัวเช่นกัน เริ่มแรกจะอยู่ในรูปของรังสีที่มีอำนาจทะลุทะลวงสูง (รังสีเอกซ์และรังสีแกม มา) ซึ่งเดินทางผ่านเนื้อดาวออกมา จนในที่สุดกลายเป็นแสงสว่างและความร้อนหนีหลุดจากโฟโตสเฟียร์ของดาวออกไปในอวกาศ
ัตถุกึ่งดาว
วัตถุกึ่งดาวเป็นวัตถุที่มีพลังงานมากที่สุดเท่าที่รู้จัก วัตถุเหล่านี้อาจเป็นดาราจักรอายุน้อยที่กำลังยุบตัวลงจากกลุ่มก๊าซมหึมาที่มี หลุมดำขนาดใหญ่อยู่ที่ใจกลาง ความโน้มถ่วงของหลุมดำจะหมุนปั่นให้ก๊าซวนรอบด้วยความเร็วใกล้แสง ทำให้ก๊าซคายพลังงาน และส่งสสาร เป็นไอพ่นออกมาแกนกลางของดาราจักรกันมันต์ที่มีอายุน้อย วัตถุกึ่งดาวเป็นวัตถุที่อยู่ไกลที่สุด และมีพลังงานมากที่สุดในเอกภาพ
ลุมดำ
วัตถุที่มีความโน้มถ่วงแรงมากจนทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งแสงไม่สามารถหนีหลุดออกมาได้
ะตอม
ส่วนที่เล็กที่สุดของธาตุที่ยังคงความเป็นธาตุอยู่ได้ ธาตุแต่ละชนิด เช่น ไฮโดรเจน ฮีเลียม และคาร์บอน จะมีโครงสร้างอะตอมไม่ เหมือนกัน








เว็บทางดาราศาสตร์ :



http://http//www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/4-5/no31-39/darasart.html
http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/planets/



เรียบเรียงโดย : จักร ศรีนวล
สาขา เคมี-สิ่งแวดล้อม
52050845














0 ความคิดเห็น: