BLOGGER TEMPLATES - TWITTER BACKGROUNDS »

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ศัพท์ธุรกิจ การเงิน บัญชี และเศรษฐศาสตร์(Business, Finance, Accounting and Economics)



คำศัพท์การเงินการคลัง

ปริมาณเงิน M1 หรือปริมาณเงินตามความหมายแคบ (Narrow Money)

ปริมาณเงินที่หมุนเวียนในมือประชาชน ประกอบด้วยะนบัตรและเหรียญกษาปณ์ในมือประชาชนและเงินฝากเผื่อเรียกของประชาชนที่ระบบธนาคาร

ปริมาณเงิน M2 หรือปริมาณเงินตามความหมายกว้าง (Broad Money)

ปริมาณเงินที่หมุนเวียนในมือประชาชน นอกจากประกอบด้วยธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ในมือประชาชนและเงินฝากเผื่อเรียกแล้ว ยังรวมเงินฝากประจำและออมทรัพย์ที่ระบบธนาคารอีกด้วย



ปริมาณเงิน M2a (Broad Money M2a)

หมายถึง ปริมาณเงินที่อยู่ในมือประชาชนเป็นความหมายกว้างขึ้น โดยรวมปริมาณเงิน M2 และตั๋วสัญญาใช้เงินหรือนัยหนึ่งคือ เงินที่บริษัทเงินทุนฯ รับฝากจากประชาชน

ปริมาณเงิน M3 หรือ ปริมาณเงินตามความหมายที่กว้างที่สุด (Broad Money M3)

ปริมาณเงินที่หมุนเวียนในมือประชาชนในรูปของเงินสด เงินฝากทุกประเภทของสถาบันการเงินที่รับฝากจากประชาชน ซึ่งรวมถึงเงินฝากในรูปของตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุน


ฐานเงิน (monetary base)

ประกอบด้วยธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ที่หมุนเวียนอยู่ในมือประชาชน และในมือธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งเงินฝากสถาบันการเงินที่ฝากไว้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์ฐานเงินจะสามารถสร้างปริมาณเงินหมุนเวียนได้จำนวนกี่เท่าขึ้นกับขนาดของตัวทวีฐานเงิน ในปัจจุบันฐานเงินเพิ่มขึ้น 1 บาท สามารถสร้างปริมาณเงิน M1 ได้ประมาณ 0.9 เท่า สร้างปริมาณเงิน M2 ได้ประมาณ 10 เท่า ปริมาณเงิน M2a ได้ 11 เท่า และปริมาณเงิน M3 ได้ประมาณ 12 เท่า



ทุนสำรองเงินตรา (Currency reserves)

คือ สินทรัพย์ที่ใช้หมุนหลังธนบัตรออกใช้ ซึ่งจะต้องมีมูลค่าเท่ากับธนบัตรออกใช้ 100% ตามหลักการที่ว่า มูลค่าของธนบัตรออกใช้จะต้องเท่ากับมูลค่าของ สินทรัพย์ทุนสำรองเงินตราเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่าธนบัตรได้รับการประกันราคาให้มีค่าตามที่ระบุไว้บนหน้าธนบัตรนั้น สินทรัพย์ที่ประกอบขึ้นเป็นทุนสำรองเงินตรา ได้แก่

1. ทอง

2. เงินตราต่างประเทศอันเป็นเงินตราที่พึงเปลี่ยนได้ หรือเงินตราต่างประเทศอื่นใดที่

กำหนดโดยกฎกระทรวง ทั้งนี้ต้องเป็นรูปเงินฝากในธนาคารนอกราชอาณาจักรหรือในสถาบันการเงินระหว่างประเทศ

3. หลักทรัพย์ต่างประเทศที่จะมีการชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศที่ระบุไว้ใน (2)

4. ทองคำ สินทรัพย์ต่างประเทศ และสิทธิพิเศษถอนเงิน ทั้งนี้ที่ส่งสมทบกองทุนการ

เงิน

5. ใบสำคัญสิทธิซื้อส่วนสำรอง

6. ใบสำคัญสิทธิพิเศษถอนเงิน

7. หลักทรัพย์รัฐบาลไทยที่จะมีการชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศที่ระบุไว้ในข้อ 2

หรือเป็นบาท

8. ตั๋วเงินในประเทศที่ธนาคารแห่งประเทศไทยพึงซื้อหรือรับช่วงซื้อลดได้ แต่ต้องมีค่ารวมกันไม่เกินร้อยละยี่สิบของจำนวนธนบัตรออกใช้



สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL)

หมายถึง เงินให้สินเชื่อที่ค้างชำระเงินต้นและหรือดอกเบี้ย นับจากวันที่ครบกำหนดชำระเงินตามงวดที่กำหนดในสัญญา หรือ เมื่อได้ทวงถามหรือเรียกให้ชำระหนี้แล้วเป็นระยะเวลาเกินกว่า 3 เดือน โดยพิจารณาการค้างชำระเป็นรายสัญญาหรือรายบัญชี


ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note)

เป็นหนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า “ผู้ออกตั๋ว” ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือใช้ให้ตราคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้รับเงิน”



บัตรเงินฝาก (Negotiable Cert)

เป็นตราสารซึ่งเปลี่ยนมือได้ที่ธนาคารพาณิชย์ออกificate of Depositให้แก่ผู้ฝากเงินเพื่อเป็นหลักฐานการรับฝากเงิน และเพื่อแสดงสิทธิของผู้ทรงตราสารที่จะได้รับเงินฝากคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ โดยจะมีการกำหนดดอกเบี้ยไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้

ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยลงวันที่ 25 มิถุนายน 2535 กำหนดจำนวนเงินในบัตรเงินฝากแต่ละฉบับไม่ต่ำกว่าห้าแสนบาท และส่วนที่เกินกว่าห้าแสนบาทต้องเป็นจำนวนทวีคูณของหนึ่งแสนบาท ธนาคารพาณิชย์จะออกบัตรเงินฝากเพื่อรับฝากเงินต่ำกว่า 3 เดือน หรือเกินกว่า 3 ปีไม่ได้


อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate)

เป็นอัตราที่เทียบระหว่างค่าของเงินสกุลหนึ่ง (เช่น เงินสกุลท้องถิ่น) กับหนึ่งหน่วยงานของเงินสกุลหลัก เช่น ค่าของเงินบาทเทียบกับ 1 หน่วยดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 40 บาท เป็นต้น ระบบอัตราแลกเปลี่ยน โดยกว้างๆ แล้วมี 2 ระบบ คือ ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate) และระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Floating Exchange Rate) อย่างไรก็ดี ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้กันอยู่ความจริงมีความหลากหลายมาก โดยอาจจำแนกได้เป็น 3 ระบบใหญ่ๆ คือ

ผูกค่ากับเงินสกุลอื่น ซึ่งอาจเป็นการผูกค่ากับเงินสกุลเดียว เช่น ดอลลาร์ ฮ่องกงกับดอลลาร์ สหรัฐอเมริกา หรือผูกค่ากับสกุลที่เรียกว่าระบบตะกร้า เช่น ระบบตะกร้าแลกเปลี่ยนของไทยในอดีต

2. ระบบที่มีความยืดหยุ่นจำกัด ระบบนี้คล้ายกับระบบ peg แต่อัตราแลกเปลี่ยนอาจ เคลื่อนไหวได้ในช่วงกว้างกว่า ตัวของระบบนี้ได้แก่ประเทศที่อยู่ในยุโรปที่เข้าร่วมในระบบ Exchange Rate Mechanism ( ERN) เป็นต้น และ

3. ระบบที่มีความยืดหยุ่นสูง เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ ซึ่งค่าของเงินจะมีความผกผวนมากกว่า 2 ระบบแรก ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความยืดหยุ่นสูงนี้ สามารถแบ่งเป็น 2 ระบบคือ

(1) ระบบลอยตัวภายใต้การจัดการ (Managed หรือ Dirty Float) ซึ่งเป็นระบบที่ประเทศส่วนมาก รวมทั้งประเทศในปัจจุบัน ใช้อยู่

(2) ระบบลอยตัวเสรี (Independent หรือ Free Float) เป็นระบบที่ค่าเงินลอยตัวตามกลไกตลาดมากที่สุด ธนาคารอาจเข้าแทรกแซงในตลาดบ้าง เพื่อชี้นำทิศทาง แต่มิใช่เพื่อสวนทางกับการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนในตลาด

ภาคเศรษฐกิจการเงิน (Financial Sector)

หมายถึง ภาคเศรษฐกิจที่ประกอบธุรกิจด้านการเงิน โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างผู้ออมและผู้ลงทุน รวมทั้งให้บริการ ด้านการเงินอื่นๆด้วย โดยเฉพาะด้านการชำระเงิน

ซึ่งภาคเศรษฐกิจการเงินนี้ประกอบไปด้วยสถาบันการเงินประเภทต่างๆ เช่น ธนาคารพาณิชย์

กิจการวิเทศธนกิจ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกันชีวิต

บริษัทประกันภัย และตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น


เงินตราที่แลกเปลี่ยนได้ (currency convertibility)

มีความหมายแตกต่างกันไปในระบบการเงินแบบต่างๆ ดังนี้ (1) ในระบบมาตรฐาน

ทองคำ(gold standard) หมายถึงธนบัตรที่สามารถนำๆไปแลกเป็นเหรียญทองคำหรือเหรียญเงินจากกระทรวงการคลังหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบตามราคาที่ระบุไว้ในธนบัตร (2) ในระบบมาตราปริวรรตทองคำ (gold exchandard) ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาอนุญาติใหัแลกดอลลาร์กับคำในระดับธนาคารกลางได้ (3) ในระดับอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว(ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน) หมายถึงเงินตราสกุลหนึ่งสามารถแลกเป็นเงินตราสกุลอื่นได้โดยไม่มีอุปสรรคอันเกิดจากข้อจำกัดของรัฐบาลเจ้าของเงินตรา

บัญชีเดินสะพัด (current account)

บัญชีเดินสะพัดเป็นส่วนหนึ่งของบัญชีดุลการชำระดุลเงินระหว่างประเทศ ประกอบด้วย (1) รายการสินค้าและบริการ (2) รายได้และ (3) เงินโอน ภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติจะจัดทำขึ้นช่วงเวลา 1,3,6 เดือน และหนึ่งปี อนึ่ง สินค้าออกและสินค้าเข้าโดยเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ารายการที่มองเห็น (visible items) และเรียกบริการว่ารายการที่มองไม่เห็น (in visible items) อันได้แก่ การขนส่ง การเดินทางและการท่องเที่ยว ส่วนรายได้หมายถึงดอกเบี้ยและเงินปันผลจากการลงทุนสำหรับเงินโอนมีทั้งภาครัฐบาลเอกชน

การแปลงหนี้ (debt conversion)

เรียกอีกหนึ่งว่า refinance เป็นการลดภาระหนี้ที่ยังไม่กำหนดชำระคืนเงินต้นด้วยวิธีการต่างๆ อาทิ การออกพันธบัตรใหม่ที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ การนำเงินจากงบประมาณรายได้ไปซื้อคืนพันธบัตรเก่าที่เสียอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า การ *** ้เงินจากแหล่งที่คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าไปชำระคืนเงินที่คิดอัตราดอกเบี้ยสูง ฯลฯ ในกรณีที่เป็นพันธบัตรจะต้องระบุเงื่อนไขการบังคับซื้อคืนในกรณีการเงินจากองค์กรการเงินระหว่างประเทศ มักเปิดโอกาสให้ประเทศลูกหนี้หาเงิน ที่เสียอัตราดอกเบี้ยสูงได้ แต่ถ้าเป็นสถาบันการเงินเอกชนมักตั้งเงื่อนไขกีดกัน เพราะการแปลงหนี้เพื่อลดภาระหนี้อาจทำให้เจ้าหนี้เสียประโยชน์

อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ (debt equity ratio)

อัตราส่วนระหว่างหนี้สินระยะยาวต่อส่วนของเจ้าของ หากอัตราส่วนหนี้มีค่าสูง แสดงว่าหน่วยธุรกิจพึ่งพิงเงินทุนจากภายนอกในสัดส่วนสูงฐานะการเงินของหน่วยธุรกิจอาจมีความเสี่ยงสูง

ตราสารหนี้ (debt service ratio)

เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า debt เป็นเครื่องมือในการระดมเงินทุนโดยตรงระหว่างผู้และผู้มีเงินออม โดยไม่ต้องผ่านคนกลางคือธนาคารหรือบริษัทเงินทุน

อัตราส่วนภาระการชำระหนี้ ( debt service ratio)

โดยทั่วไปหมายถึงอัตราส่วนระหว่างรายจ่ายการชำระหนี้เงิน (การชำระดอกเบี้ย หรือการชำระเงินต้นคืน หรือทั้งดอกเบี้ยและเงินต้น) ต่อรายรับของธุรกิจเอกชน หรือภาครัฐบาลในกรณีของการ

ประเทศของภาครัฐบาล อัตราส่วนภาระการชำระหนี้ คือ อัตราส่วนระหว่างรายจ่ายในการชำระหนี้เงินจากต่างประเทศโดยตรงภาครัฐบาล (รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ) กับรายได้เงินตราต่างประเทศจากการขายสินค้าและบริการส่งออก เงิน ต่างประเทศโดยตรงหมายถึง เงินที่มีการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยโดยใช้เงินจากงบประมาณแผ่นดิน อัตราส่วนภาระการชำระหนี้เป็นหลักเกณฑ์การกำหนดไว้เพื่อประกอบการควบคุมการก่อหนี้ต่างประเทศมิให้เกินขีดความสามารถในการชำระหนี้ การยืมของภาครัฐบาลจากต่างประเทศหากไม่สามารถชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย จะกระทบถึงความน่าเชื่อถือต่อฐานะทางการเงินของประเทศโดยส่วนรวม ดังนั้นจึงมีการควบคุมโดยกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ ในกรณีของไทยอัตราส่วนการชำระหนี้เงินต่างประเทศโดยตรงภาครัฐบาลมีการปรับจากร้อยละ 5 ใน พ.ศ. 2503 เป็นร้อยละ 9 ใน พ.ศ. 2526

เงินชดเชยส่วนต่าง ( deficiency payment)

จำนวนเงินที่รัฐบาลชดเชยให้แก่เกษตรในกรณีที่ราคาพืชผลในตลาดอยู่ในระดับต่ำกว่าราคาเป้าหมายที่กำหนดไว้ เป็นวิธีการหนึ่งในการประกันราคาขั้นต่ำ โดยคำนวณเงินชดเชยจากส่วนต่างระหว่างระดับราคาตลาดภายในประเทศกับระดับราคาเป้าหมายนั้นๆ การชดเชยเฉพาะส่วนต่างทำให้รัฐบาลใช้งบประมาณน้อยกว่ากรณีที่รัฐบาลรับซื้อพืชผลเกษตรเองในราคาประกัน การช่วยเหลือเกษตรโดยใช้เงินชดเชยส่วนต่างนี้เป็นวิธีที่นักเศรษฐศาสตร์หลายกลุ่มสนับสนุนให้ใช้แทนวิธีการอุดหนุนการผลิตสินค้าแบบอื่นๆ อันได้แก่ การรับซื้อพืชผลตามราคาประกัน โดยรัฐบาล การเก็บภาษีสินค้านำเข้า และการกีดกันการนำเข้าสินค้าเกษตรด้วยวิธีต่างๆ ซึ่งมักใช้กันในประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เป็นต้น

การระดมเงินเพื่อใช้จ่ายที่เกินรายรับ ( deficit financing)

การระดมเงินเพื่อสนองการใช้จ่ายที่เกินรายรับ ในกรณีของงบประมาณแผ่นดิน หากมีการใช้จ่ายที่เกินรายรับโดยการตั้งงบประมาณแบบขาดดุล รัฐบาลจะต้องระดมเงินโดยการยืมจากภายในและ/หรือจากต่างประเทศ และการใช้เงินคงคลัง

การขาดดุลงบประมาณ (budget deficit)

หมายถึง ความแตกต่างระหว่างรายได้และวงเงินงบประมาณรายจ่ายตามที่กำหนดไว้ตามเอกสารงบประมาณ

การขาดดุลเงินสด (cash deficit)

หมายถึง ความแตกต่างระหว่างรายได้และรายจ่ายจริงของรัฐบาล

การขาดดุลตามรายได้ประชาชาติ (national account)

เป็นการขาดดุลของรัฐบาลรวมทั้งหน่วยงานของรัฐบาลต่างๆ เช่น องค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ในแง่ของการหาและการใช้ทรัพยากร (resource Gap) โดยที่รายได้และรายจ่ายของรัฐบาลต่างๆ ข้างต้นจะหักรายได้และรายจ่ายที่มีลักษณะเป็นการโอน (transfer) เช่น ค่าดอกเบี้ยคงเหลือเป็นรายได้ตรง ตัวเลขตามรายได้ประชาชาติมักจะปรากฏเป็นปีปฏิทิน ซึ่งต่างจากตัวอื่นๆ ที่เป็นปีงบประมาณและจะต้องคำนึงถึงการหาและใช้ทรัพยากรของรัฐบาลด้านต่างๆ ทั้งที่มีปรากฏอยู่ในงบประมาณแผ่นดินและไม่ปรากฏ หรือที่มีการแสดงการตามฐานะการเงินหรือไม่ก็ตาม การวิเคราะห์ตัวเลขการขาดดุลตามรายได้ประชาชาติจึงเป็นการมองจากการหาและใช้ทรัพยากรในภาคเศรษฐกิจจริงโดยรัฐบาลมากกว่าจะเป็นกิจกรรมรัฐบาล (ซึ่งหากไม่มีการเงินมาเกี่ยวข้องก็จะไม่ปรากฏในฐานะการคลังรัฐบาล)

บรรษัทเงินระหว่างประเทศ (international development corp.)

เป็นองค์กรในเครือธนาคารโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือส่งเสริมและร่วมลงทุนในกิจการอุตสาหกรรม และสถาบันการเงินต่างๆ ในประเทศสมาชิกทั้งภาคเอกชน และในภาครัฐบาล

สมาคมเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (international monetary fund)

เป็นสถาบันการเงินเอกเทศจากธนาคารโลก มีวัตถุประสงค์ให้แก่ประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาเรื่องการขาดดุลการเงินระหว่างประเทศ เป็นแบบเงินระยะปานกลางไม่เกิน 7 ปี

เงินช่วยเหลือและเงินแบบผ่อนปรน (official development assistance)

เป็นเงินที่ประเทศพัฒนาแล้วจัดให้แก่ประเทศยากจน โดยมีเงื่อนไขที่ผ่อนปรน เช่น ไม่มีดอกเบี้ย หรือมีดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำมาก มีระยะผ่อนชำระหนี้เงินต้นยาวระหว่าง 30 – 50 ปี เป็นต้น

เงินรายปี (annuity)

กระแสเงินสดที่รับหรือจ่ายในจำนวนเท่ากันหรือเป็นรายงวดในช่วงระยะเวลาที่กำหนด เช่นดอกเบี้ยรับจากการถือพันธบัตรรัฐบาล รายจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิต และเงินจ่ายคืนบริษัทประกันชีวิตตามข้อตกลง เป็นต้น โดยทั่วไปอาจจำแนกเงินรายปีเป็น 2 แบบ คือ แบบจ่ายทันที (annuity – immediate) และแบบที่จ่ายเมื่อถึงกำหนด (annuity – due)

งบประมาณสมดุล (balance budget)

รายรับปัจจุบันเท่ากับรายจ่ายปัจจุบัน ในกรณีงบประมาณแผ่นดินสมดุลหมายถึงรายได้จากแหล่งต่างๆ อันได้แก่ ภาษี ค่าธรรมเนียม รายได้จากรัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมเงิน) เท่ากับรายจ่ายต่างๆ

ดุลการชำระเงิน (balance of payments)

มีชื่อเต็มว่าดุลการชำระเงินต่างประเทศ (international balance of payments) เป็นบัญชีบันทึกการรับและการจ่ายเงินตราต่างประเทศสืบเนื่องจากการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจระหวางผู้ที่มีภูมิลำเนาในประเทศหนึ่งกับผู้ที่มีภูมิลำเนาในประเทศอื่นๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่งดุลการชำระเงินประกอบด้วยบัญชีหลัก 2 บัญชี คือ บัญชีเดินสะพัด (current account) และบัญชีทุน – การเงิน (capital and financial account)

งบดุล (balance of trade)

เป็นงบการเงินแสดงที่มาของเงินทุน (sources of fund) ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ประกอบด้วยหนี้สินและทุน และการแสดงเงินทุน (uses of fund) ในรูปของทรัพย์สินประเภทต่างๆ

เงินทุนไหลเข้า (capital inflow)

เงินทุนไหลเข้าเป็นธุรกรรมทางเศรษฐกิจ (economic transaction) ที่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องการชำระหนี้จากต่างประเทศที่มีต่อประเทศผู้รับเงินทุน ผู้พำนักอาศัยในประเทศอื่นซึ่งเป็นเจ้าของเงินทุนที่ไหลเข้ามาในประเทศไทยย่อมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ ส่วนประเทศมีไทยมีฐานะเป็นลูกหนี้ จึงบันทึกรายการเงินทุนไหลเข้าด้านเครดิตของบัญชีทุนเคลื่อนย้าย ในดุลการชำระเงินระหว่างประเทศของประเทศของไทย เงินทุนไหลเข้าได้แก่ (1) การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (2) การเงินระยะยาวจากต่างประเทศภาคเอกชน ประกอบด้วยการยืม (loans) ของรัฐวิสาหกิจ การ ยืมของธุรกิจภาคเอกชน การลงทุนในภาคหลักทรัพย์ (portfolio investment) (3) การยืมระยะสั้นภาคเอกชน ได้แก่ การ ยืมของรัฐวิสาหกิจ และ (4) เงินทุนไหลเข้าของรัฐบาลกลาง ได้แก่ การยืม การขายหลักทรัพย์ระยะยาว (พันธบัตร) การผ่อนชำระสินค้าเข้า (supplier’s credit)

เงินทุนไหลออก (capital outflow)

หมายถึงธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่เจ้าของเงินทุนมีสิทธิเรียกร้องการชำระหนี้จากผู้พำนักอาศัยในต่างประเทศ ผู้พำนักอาศัยในประเทศซึ่งเป็นเจ้าของเงินทุนที่ไหลออกจากประเทศไทยย่อมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ ส่วนประเทศอื่นมีฐานะเป็นลูกหนี้ จึงบันทึกรายการเงินทุนไหลออกในด้านเดบิตของ บัญชีทุนเคลื่อนย้าย ในดุลการชำระเงินระหว่างประเทศของไทย เงินทุนไหลออกได้แก่ (1) การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (2) การให้สินเชื่อระยะยาวแก่ภาคเอกชนในต่างประเทศ (3) การให้สินเชื่อระยะสั้นแก่ภาคเอกชนในต่างประเทศ และ (4) เงินทุนไหลออกของรัฐบาลกลาง

เงินทุนสมทบ (counterpart funds)

เงินที่ผู้ร่วมกิจกรรมหรือโครงการจ่ายตามส่วนที่กำหนด หรือเงินทุนที่ผู้รับความช่วยเหลือจ่ายสมทบเงินที่ได้รับความช่วยเหลือ เป็นวิธีการให้ความช่วยเหลือที่กำหนดให้ผู้รับความช่วยเหลือ มีส่วนร่วม (participation) โดยการจัดหาเงินทุนหรือวัสดุสิ่งของสำหรับใช้ในการดำเนินโครงการมา สมทบกับเงินทุนที่ได้รับความช่วยเหลือ

เขียนโดย กษิดิศ สูญสิ้นภัย สาขาเคมีทรัพยากรสิ่งแวดล้อม
รหัสนักศึกษา52050838

0 ความคิดเห็น: